เทียบโมเดล"นครปัตตานี" แน่หรือคือ ยุทธวิธีดับไฟใต้?
"ปัญหาภาคใต้" หวนกลับมาเป็นวาระร้อนระดับประเทศอีกรอบในห้วงเดือนส่งท้ายปี เมื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควงแขน นายนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซีย เดินทางลงพื้นที่ครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกันในลักษณะ "สานสัมพันธ์" และ "มิตรภาพ" ระหว่างสองประเทศ
แต่ข่าวคราวที่ปรากฏตามหน้าสื่อทั้งในและต่างประเทศ กลับกลายเป็นปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบ เพราะมีการก่อวินาศกรรมอย่างน้อย 8 จุดในตอนกลางวันของวันที่ 9 ธ.ค. และอีก 1 จุดในช่วงค่ำ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบ
ความรุนแรงที่ถูกจุดขึ้นในห้วงเวลาที่มีบุคคลสำคัญเดินทางลงพื้นที่ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คราวนี้ควันปืนและเสียงระเบิดจะไม่จางหายไปเฉยๆ เหมือนทุกครั้ง เพราะปฏิบัติการความรุนแรงเกิดขึ้นในห้วงที่มีกระแสตอบรับเรื่อง "นครปัตตานี" อย่างอุ่นหนาฝาคั่งในพื้นที่ ทำให้ประเด็นเกี่ยวกับ "นครปัตตานี" เพิ่มน้ำหนักขึ้นในทิศทางที่ว่าอาจจะเป็น "ทางออก" ของปัญหาในแบบ "การเมืองนำการทหาร" อย่างแท้จริงหรือไม่
และนั่นจึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ "ปัญหาภาคใต้" ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันเฉพาะแง่มุมความรุนแรง…
”นครปัตตานี" ของ “บิ๊กจิ๋ว”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่จุดกระแส "นครปัตตานี" ให้เป็นที่ฮือฮาอยู่ในขณะนี้คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานพรรคเพื่อไทย
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีข้อเสนอในมิติของการจัดรูปการปกครองใหม่ และ/หรือจัดโครงสร้างอำนาจใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยุติความรุนแรง และสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน
เพราะแม้กระทั่งตัว พล.อ.ชวลิต เอง ก็ไม่ได้พูดวลีนี้เป็นครั้งแรก แต่เขาเคยพูดมาก่อนแล้วเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2550 ช่วงปลายของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ท่ามกลางกระแสข่าวการก้าวเข้ามาเป็น "โซ่ข้อกลาง" เพื่อผ่าทางตันวิกฤตการณ์การเมืองภายหลังการรัฐประหารเที่ยวล่าสุดของประเทศไทย
อย่างไรก็ดี จากการสื่อสารต่อสาธารณะหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน พล.อ.ชวลิต ก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากไปกว่าการยกตัวอย่างให้เห็นว่า แนวคิด “นครปัตตานี” เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนครเชียงใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยจะมีการออกกฎหมายให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อทางศาสนา แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย
อ่านต่อ...
แต่ข่าวคราวที่ปรากฏตามหน้าสื่อทั้งในและต่างประเทศ กลับกลายเป็นปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบ เพราะมีการก่อวินาศกรรมอย่างน้อย 8 จุดในตอนกลางวันของวันที่ 9 ธ.ค. และอีก 1 จุดในช่วงค่ำ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบ
ความรุนแรงที่ถูกจุดขึ้นในห้วงเวลาที่มีบุคคลสำคัญเดินทางลงพื้นที่ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่คราวนี้ควันปืนและเสียงระเบิดจะไม่จางหายไปเฉยๆ เหมือนทุกครั้ง เพราะปฏิบัติการความรุนแรงเกิดขึ้นในห้วงที่มีกระแสตอบรับเรื่อง "นครปัตตานี" อย่างอุ่นหนาฝาคั่งในพื้นที่ ทำให้ประเด็นเกี่ยวกับ "นครปัตตานี" เพิ่มน้ำหนักขึ้นในทิศทางที่ว่าอาจจะเป็น "ทางออก" ของปัญหาในแบบ "การเมืองนำการทหาร" อย่างแท้จริงหรือไม่
และนั่นจึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ "ปัญหาภาคใต้" ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันเฉพาะแง่มุมความรุนแรง…
”นครปัตตานี" ของ “บิ๊กจิ๋ว”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่จุดกระแส "นครปัตตานี" ให้เป็นที่ฮือฮาอยู่ในขณะนี้คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานพรรคเพื่อไทย
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีข้อเสนอในมิติของการจัดรูปการปกครองใหม่ และ/หรือจัดโครงสร้างอำนาจใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยุติความรุนแรง และสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน
เพราะแม้กระทั่งตัว พล.อ.ชวลิต เอง ก็ไม่ได้พูดวลีนี้เป็นครั้งแรก แต่เขาเคยพูดมาก่อนแล้วเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2550 ช่วงปลายของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ท่ามกลางกระแสข่าวการก้าวเข้ามาเป็น "โซ่ข้อกลาง" เพื่อผ่าทางตันวิกฤตการณ์การเมืองภายหลังการรัฐประหารเที่ยวล่าสุดของประเทศไทย
อย่างไรก็ดี จากการสื่อสารต่อสาธารณะหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน พล.อ.ชวลิต ก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากไปกว่าการยกตัวอย่างให้เห็นว่า แนวคิด “นครปัตตานี” เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนครเชียงใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยจะมีการออกกฎหมายให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อทางศาสนา แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย
อ่านต่อ...