วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 26, 2552

SALAM AIDIL-ADHA

“Assalamu a’laikum WarahmatULLAHiwabarakatuh”


Dalam sempena Hari Raya Korban ini, Kami PATANI POST ingin menguncapkan selamat bergembira kepada semua rakyat Melayu Patani dan Seluruh Umat Islam SeDunia,

Semoga berbahagia dengan keluarga tercinta hendaknya… Berdoalah agar Zulhijjah ini memberi lebih kekuatan buat perjuangan Rakyat Melayu Patani

Di keheningan fajar Zulhijjah ini, bersaksilah sekali lagi wahai para pejuang dan persucikan bahawa tiada Tuhan yang disembah selain ALLAH, Nabi Muhammad itu RasulULLAH.

Moga madrasah perperangan memperkukuh dan menyuci cita-cita kita meninggikan kalimahNYA walau apa menahan digodaan dunia yang menguji.



Kata Al-Ghazali :

yang jauh itu WAKTU,
yang dekat itu MATI,
yang besar itu NAFSU,
yang berat itu AMANAH,
yang mudah itu BERBUAT DOSA,
yang panjang itu AMAL SOLEH,
yang indah itu SALING MEMAAFKAN.



“SELAMAT HARI RAYA AIDIL-ADHA, Maaf Zahir dan Batin”
Ikhlas dari PATANI POST.


อ่านต่อ...

วันจันทร์, พฤศจิกายน 23, 2552

ทำไมตำรวจไม่ “ปกป้อง” ประชาขน



เมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดเหตุยิงถล่มกำนันที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่งบริเวณสถานีขนส่งประจำอำเภอที่อยู่ห่างจากสถานีเพียงแค่ 50 เมตร ในเวลาประมาณ 08.00 น.
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารดูแลความปลอดภัยให้ครูและนักเรียนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับจุดที่ยิง ทันทีที่ได้ยิงเสียงปืน ตำรวจไม่ออกมาจากป้อมเลยทั้งที่ปรกติจะมีรถตำรวจจอดอยู่บริเวณถนนหลายคันและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่หลายคน ประชาชนต้องช่วยกันนำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาลเอง ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุเพื่อตรวจหลักฐานเท่านั้น
การที่ตำรวจจะออกมาได้ก็ด้วยสโลแกนที่ว่า “ถ้าเราเห็นว่ายังไม่ปลอดภัยก็จะไม่ออกมา” นี่เป็นคำตอบที่ว่าทำไมเหตุการณ์ความไม่สงบยังคงเกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อยู่ในพื้นที่อย่างมากมาย


ความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเต็มไปด้วยคำถามที่ว่า “ทำไมไม่ช่วยเขา” ก็แค่ยิงขึ้นฟ้าหรือวิ่งออกมาหลายคนคงจะทำไห้คนร้ายตกใจหรือหนีไป หรือหากไม่กล้าจริง ๆ ก็น่าจะให้วิทยุสื่อสารเรียกกำลังเสริม อาจจะทำไห้เขาไม่ต้องตายก็ได้ หรืออาจจะมีคนเจ็บน้อยกว่านี้ นี่เขาเห็นชีวิตประชาชนไม่มีค่าหรืออย่างไร ไม่มีลูก ไม่มีภรรยา ไม่มี พ่อแม่ที่ต้องดูแลหรืออย่างไร ขนาดกำนันเป็นคนรัฐแท้ ๆ เขายังไม่ปกป้องเลย นับประสาอะไรกับชาวบ้านตาสีตาสา ถ้าจะถามว่าพวกเขากลัวระเบิดลวงแล้วชาวบ้านที่นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือคนที่อยู่บริเวณนั้นไม่กลัวหรือไง?
และยังมีความจริงที่น่าหดหู่อีกอย่างก็คือในเวลา 10.00 น.ของทุกวัน เขาจะตั้งด่านตรวจจราจร ??? ในบริเวณนั้นทุกวัน แต่ก่อนเวลา 10.00 น. เช่นนี้คงยังไม่ถึงเวลาที่เจ้าหน้าที่ออกมาปกป้องชีวิตของประชาชนตรงหน้าเขาได้ มีหรือไม่มีก็มีค่าเท่ากัน
งบประมาณกว่าแสนล้านที่มาจากภาษีประชาชนที่ลงมาแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จึงไม่ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้เลย ไม่มีความหมายต่อประชาชนได้เลย กำลังพลมากมายก็แก้ไขไม่ได้ เพราะคนไม่มีความจริงใจ ไม่มีศักยภาพ ไร้ความสามารถ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายไม่ว่า ตำรวจ ทหาร ปกครอง เกษตร และอื้น ๆ ได้ทำหน้าที่ของตัวอย่างเต็มที่ ก็คงให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การทำมาหากินของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน คงไม่เจอภาวะถดถอยเช่นนี้แน่ แล้วจะเป็นอย่างไรอีกกี่ปี???
สาเหตุของการเกิดปัญหาของความไม่สงบในภาคใต้มาจากหลากหลายสาเหตุ อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่ยุติธรรมต่าง ๆ ปัญหาอิทธิพล ปัญหาการเมืองท้องถิ่น ปัญหางบประมาณ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาความขัดแย้งส่วนตัว และปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาโดยการทุ่มสรรพกำลังลงมา หรืองบประมาณ หากไม่แก้ปัญหาไห้ตรงจุด
เพราะการแก้ปัญหาแค่ปัญหาแค่หนึ่งปัญหาด้วยงบประมาณและกำลังพลขนาดนี้ถือได้ว่า รัฐบาลขาดทุนในแง่การลงทุนอย่างสิ้นเชิง

อ่านต่อ...

วันศุกร์, พฤศจิกายน 20, 2552

ปัตตานีเพลส...“เอ็ดดูเคชั่น คอมเพล็กซ์” ที่ชายแดนใต้


สถานการณ์แบบนี้...ใครบอกว่าจะมาลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนฟังต้องคิดในใจว่า “โม้แน่ๆ”
แต่เรื่องที่ไม่มีใครอยากเชื่อ กำลังจะกลายเป็นความจริงแล้ว เมื่อบริษัท ดี อาร์ เอส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (DRS DEVELOPMENT CO., LTD) ได้ตัดสินใจระดมทุนร่วม 500 ล้านบาท ทำโครงการ “ปัตตานีเพลส”
โครงการชื่อเก๋ๆ ที่ว่านี้ คือการก่อสร้างศูนย์การค้าและศูนย์กลางการศึกษาขนาดใหญ่ใจกลางเมืองปัตตานี ศูนย์การค้านั้นพอจะนึกภาพออก แต่ศูนย์กลางทางการศึกษาคงต้องอธิบายกันหน่อยว่าไม่ใช่การเปิดมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนในระบบการศึกษาปกติ แต่เป็นการสร้างสถานที่สำหรับเปิดติวและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการศึกษา ทั้งหมดอยู่ในอาคารศูนย์การศึกษานานาชาติซึ่งเป็นหัวใจของโครงการนี้

โครงการดังกล่าว เพิ่งมีการจัดเสวนาและนำเสนอโครงการของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ไปเมื่อปลาย ต.ค.ที่ผ่านมานี้เอง ที่ห้องประชุมเช็คอะหมัด-อัลฟาฏอนียฺ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) โดยมีแผนจะตอกเสาเข็มเริ่มโครงการในต้นปีหน้า และเปิดอย่างอลังการได้ช่วงสิ้นปี
โครงการนี้จะตั้งอยู่บนที่ดินผืนใหญ่ขนาด 10 ไร่ ริมถนนเจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ห่างจาก ม.อ.ปัตตานี เพียงแค่ 200 เมตร ในโครงการจะประกอบด้วย IEC หรือ International Education Center เป็นอาคารสูง 5 ชั้นสำหรับบริการด้านการศึกษานานาชาติแห่งใหม่ในภาคใต้ ประกอบด้วย สถาบันทดสอบทางภาษา เช่น TOEFL, IELT และศูนย์ของมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ
นอกจากนั้นยังมีโรงแรมระดับ 4 ดาวชื่อ Pattani Hotel (ปัตตานี โฮเต็ล) ขนาด 60 ห้อง พร้อมห้องสัมมนาขนาดใหญ่ มี Condotel หรือคอนโดมีเนียมจำนวน 4 อาคาร เพื่อบริการที่พักสำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งยังมีโฮมออฟฟิศอีก 13 ยูนิตสำหรับเป็นสถานที่ให้บริการของสถาบันกวดวิชา ร้านค้าอุปกรณ์ทางการศึกษา (Stationary ) และอื่นๆ พร้อมด้วย Hall Outdoor หรือลานกลางแจ้งสำหรับจัดกิจกรรมทางการศึกษา นิทรรศการ และงานแสดงสินค้าอีกด้วย

โครงการใหญ่บนถนนสาย ม.อ.
ทวีศักดิ์ มหามะ บอร์ดบริหารโครงการปัตตานีเพลส บอกว่า เขามักมองวิกฤติให้เป็นโอกาส และนั่นคือการตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ที่ปัตตานี
“ผมเป็นนักธุรกิจ วันนี้พี่น้องในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในมุมมองของสื่อที่ได้เสนอออกไป ทำให้พื้นที่ตรงนี้ดูไม่น่าลงทุน เพราะมันน่ากลัว แต่ผมอยากขอเชิญชวนพี่น้องที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยให้มาเยี่ยมปัตตานี ถ้าถามว่าวันนี้ปัตตานีเป็นอย่างไร คำตอบคือเท่าที่ผมได้มาสัมผัส มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว”
ทวีศักดิ์ บอกว่า ก่อนจะตัดสินใจลงทุน ได้ทำการศึกษาวิจัยเป็นอย่างดีแล้ว เพราะทราบดีถึงปัญหาในพื้นที่แห่งนี้

“ก่อนจะทำโครงการเรามีการวิเคราะห์และวิจัยโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือเราต้องดูทำเลที่ตั้ง ซึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีศักยภาพ แต่สิ่งที่ทำให้เด็กขาดศักยภาพคือโอกาส ขาดโอกาสที่จะเติมเต็ม เราก็หวังที่จะเพิ่มพูนความรู้ให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไป”
“บนถนนเจริญประดิษฐ์ หรือถนนสาย ม.อ.นั้น สามทุ่มยังมีคนพลุกพล่าน ตรงนี้เองที่เรามองว่าดีมานด์สูง (หมายถึงความต้องการซื้อ) แต่ตัวซัพพลาย (ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ) กลับยังไม่มี เราไม่ใช่คู่แข่งขององค์กรอื่นๆ ในภาคธุรกิจ แต่เราพยายามเติมเต็มในส่วนที่ขาดมากกว่า”
“ในปัตตานีเพลสจะมี ไออีซี หรือศูนย์การศึกษาในระดับนานาชาติ ซึ่งต่อไปนี้เด็กในพื้นที่สามจังหวัด หากต้องการศึกษาต่อ ก็ไม่ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯแล้ว เพราะที่นี่จะเปิดเป็นสถานที่ทดสอบภาษาอังกฤษ และมีติวเตอร์เพื่อต่อยอดเรื่องการศึกษาในต่างประเทศด้วย”
สิ่งที่ ทวีศักดิ์ อธิบายว่าโครงการปัตตานีเพลสเน้นเป็นพิเศษ คือการพัฒนา “ภาษาที่สอง” ให้กับเยาวชนในพื้นที่
“ปัจจุบันเด็กไทยจบปริญญาตรีเยอะ แต่สาเหตุที่ไม่สามารถพัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าเมื่อไปประกอบอาชีพได้ นั่นก็คือภาษาที่สอง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ โลกปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ติดต่อกันทั่วโลก ฉะนั้นถ้าเราทิ้งตรงนี้ก็เท่ากับขาดโอกาส รัฐบาลเองต้องกล้าที่จะสนับสนุน และกล้าท้าทายกับสภาพที่เป็นอยู่ วันนี้ปัตตานีเพลสเกิดขึ้นมาแล้ว รัฐบาลต้องมาขอบคุณและสนับสนุนพวกเรา ภายใต้ความกลัวนั้นยังมีโอกาสอยู่ ถ้าเราไม่ได้เติมเต็มในสิ่งที่ขาด ทุกอย่างก็จบเลย”

ตอบโจทย์ธุรกิจ-การศึกษา-บันเทิง
อย่างไรก็ดี ยังคงมีคำถามมากมายถึงที่มาของโครงการอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้
ผศ.นิฟาริศ ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม ม.อ.ปัตตานี ในฐานะที่ปรึกษาด้านวิชาการของโครงการ เล่าว่า แรกเริ่มได้รับข้อเสนอจากนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความคิดจะทำธุรกิจเรื่องการศึกษา ส่วนตัวคิดว่าน่าจะช่วยได้ เพราะทราบปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดีว่ามาตรฐานของเด็กในพื้นที่นี่ต่ำกว่าเด็กที่อื่นๆ มาก ทำให้บางส่วนที่ทางบ้านมีฐานะการเงินดี จะส่งไปเรียนเพิ่มเติมที่หาดใหญ่ (จ.สงขลา) และกรุงเทพ ฯ ทำให้เด็กต้องอยู่ไกลบ้าน อาจจะเสียผู้เสียคน ขณะที่เงินที่ต้องส่งเสียก็สูงขึ้น
“ผมเคยทำโครงการติวข้อสอบให้เด็กก่อนเอนทรานซ์ (การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอดีต) มาหลายปี โดยเดินสายติวในพื้นที่สามจังหวัด ยกทีมจาก ม.อ.ร่วม 20 คนไปติว จะเห็นได้ว่าสมัยที่เราติวเด็กกันอย่างเข้มข้น เด็กในพื้นที่ของเราก็สู้ที่อื่นได้ แต่ช่วงหลังพอผมมาเป็นผู้บริหารก็ไม่มีเวลา ทำให้เลิกไป เพราะฉะนั้นความคิดของนักธุรกิจกลุ่มนี้ที่อยากสร้างศูนย์การศึกษาในพื้นที่ก็ตรงกับสิ่งที่ผมคิดเอาไว้นานแล้ว และผมน่าจะมีประสบการณ์ช่วยเหลือได้ จึงเข้ามาร่วมงาน”
“ผมคิดว่าปัตตานีเพลสจะเป็นศูนย์กลางเรื่องพัฒนาการศึกษาของภาคใต้ เราเองก็อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์และอยู่ท่ามกลางปัญหามา 5 ปีแล้ว ยังไม่เคยเจอทางออกที่ดีแบบเลย ฉะนั้นอย่างน้อยถ้าเราบอกว่าเราอยู่ได้และไม่มีอะไรที่น่ากลัว เราสามารถพัฒนาคนได้ ธุรกิจก็เดินหน้า ก็เท่ากับว่าเราได้นับหนึ่งใหม่ โจทย์ในพื้นที่ที่เราต้องแก้ในวันนี้คือโอกาสทางธุรกิจ และโอกาสทางการศึกษา ถ้าเราเริ่มต้นโครงการได้ก็ถือว่าสามารถจุดประกายอะไรได้บางอย่าง และจะเป็นตัวนำไปสู่ความสงบของภาคใต้ได้อีกทางหนึ่ง”
“ในด้านของผู้ปกครองและตัวเด็กนั้น เมื่อไหร่ที่เด็กมีที่พักสะดวกสบาย และผู้ปกครองเด็กก็รู้สึกมั่นใจว่าเด็กไม่เหลวไหล ไม่หนีออกไปหาแสงสียามค่ำคืน ผมคิดว่าตรงนี้คือคำตอบ ผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องส่งลูกไปเรียนถึงหาดใหญ่ ผมเองก็ส่งลูกไปเรียนที่หาดใหญ่ เพราะคิดว่าปัจจุบันถ้าเราไม่เติมความรู้เข้าไป เด็กจะเสียเปรียบแล้วไปสอบสู้คนอื่นไม่ได้เลย ขนาดการเปิดติวที่นำนักวิชาการจากส่วนกลางลงมาในพื้นที่ก็ยังไม่มากพอ เพราะเวลาที่ติวให้เด็กยังน้อยเกินไป”
ผศ.นิฟาริศ กล่าวอีกว่า วงการการศึกษาไทยต้องปรับตัวให้ทันกับสภาพสังคม ยกตัวอย่างเช่นยาที่หมอให้เรารับประทานนั้น ส่วนใหญ่จะมีรสขม ฉะนั้นยาบางตัวถึงต้องเคลือบน้ำตาลเพื่อให้รับประทานได้ง่าย ถามว่าน้ำตาลมีประโยชน์ไหม คำตอบคือไม่มีประโยชน์ แต่ก็เคลือบเอาไว้เพื่อให้เราทานได้ เหมือนกับการศึกษากับความสนุกสนานต้องเดินไปด้วยกัน
“ผมยังชอบคำของฝรั่งที่เอาคำว่า education (การศึกษา) กับคำว่า entertainment (บันเทิง) มารวมกัน และได้คำว่า Edutainment เพราะทุกคนต้องการเรียนรู้และบันเทิงไปด้วย แต่ความบันเทิงนั้นต้องอยู่ในกรอบที่เราสามารถคุมได้ ไม่ใช่เตลิดเปิดเปิงถึงขึ้นไร้สาระจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่”
ไม่ใช่ safe sex แต่ต้อง no sex

นอกจากประโยชน์ทางด้านธุรกิจ การศึกษา และบันเทิง ที่จะต้องผสานกันอย่างลงตัวและเหมาะสมแล้ว ผศ.นิฟาริศ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่จะต้องคงอยู่ในพื้นที่นี้ต่อไป
“เมื่อไม่นานมานี้ผมเพิ่งไปประชุมร่วมกับ สสส. (สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) เขามีโครงการอยู่โครงการหนึ่งที่จะดูแลนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ก็มีโจทย์ข้อหนึ่งที่คุยกันในที่ประชุม คือเรื่องของ safe sex (การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย) หลายคนบอกว่าเมืองไทยมาถึงจุดนี้แล้ว ผมก็นั่งฟัง และตัวผมเองก็ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย ผมก็เสนอความคิดไปว่า ในบริบทของปัตตานีจะใช้คำว่า safe sex ไม่ได้เลย ของเราต้อง no sex (หมายถึงห้ามมีสัมพันธ์เชิงชู้สาวในช่วงที่ยังอยู่ในวัยเรียน) เป็นการถอยลงมาอีกหนึ่งด่าน เพราะอิสลามคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสเป็นเรื่องที่ผิดมากๆ”
“เรื่องนี้ถ้าทำได้ก็นับว่าเป็นผลสำเร็จอย่างแน่นอน ถ้าเราอธิบายให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าโครงการที่จะเกิดตรงนี้เป็นอย่างไร (หมายถึงปัตตานีเพลส) เขาก็คงมาร่วมงานกับเรา และถ้าเราทำตรงนี้ให้มีวัคซีนป้องกัน ทุกคนต้องมาหาเราแน่ ฉะนั้นคุณภาพเรื่องการศึกษาต้องดี บวกกับคุณธรรมจริยธรรมของอิสลามเข้าไป ถ้าทำได้จะแก้ปัญหาสังคมในระยะยาว”

ป่วนใต้ไม่ใช่ปัญหา
ด้าน อดุลย์ หวันสกุล หนึ่งในผู้สังเกตการณ์ ซึ่งมาร่วมรับฟังการเสนอโครงการ กล่าวว่า เท่าที่ฟังดูก็เห็นว่าเป็นโครงการที่ดี และโดยพื้นฐานของเด็กในพื้นที่ก็มีศักยภาพอยู่ในตัว ฉะนั้นโครงการปัตตานีเพลสก็น่าจะเป็นโครงการที่ต่อยอดในเรื่องของการศึกษา สันทนาการ ในกรอบของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
“ปัตตานีเพลสจะเป็นแหล่งพบปะ และเป็นแหล่งที่ให้ความรู้กับคนทุกกลุ่ม ปัจจุบันในพื้นที่ชายแดนใต้ เด็กๆ ที่สนใจในเรื่องการศึกษายังขาดแคลนสถานที่กวดวิชา ฉะนั้นปัตตานีเพลสจะเป็นคำตอบ”
ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่นั้น อดุลย์ มองว่า ไม่ใช่เรื่องน่าวิตก เพราะที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างห้างค้าปลีกขนาดยักษ์อย่าง “บิ๊กซี” ก็เกิดขึ้นในพื้นที่มาแล้ว เชื่อว่าทางบริษัทที่จะทำโครงการคงทำวิจัยเรื่องการตลาดมาเป็นอย่างดี
“ผมยังเชื่อว่าหากปัตตานีเพลสเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบได้อีกทางด้วยซ้ำ” อดุลย์ กล่าว
นับเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สวนกระแสทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ในพื้นที่ ทำให้น่าติดตามว่าในท้ายที่สุดแล้วจะเป็นได้แค่โครงการในกระดาษ...หรือเกิดขึ้นได้จริง!

ส่วนที่เหลือ

อ่านต่อ...

วันอังคาร, พฤศจิกายน 10, 2552

เหตุการณ์คนร้ายยิงนักเรียนปอเนาะ โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง












เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2552
เมื่อเวลาประมาณ 20.40 น. วันที่ 8 พฤษจิกายน 2552 เกิดเหตุคนร้ายยิงนักเรียนโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง ในร้านขายอาหารข้างโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง ตั้งอยู่ 111/1 ม.3 ต.พ่อมิ่ง อ. ปะนาเระ จ. ปัตตานี
จากการสอบถามชาวบ้าน และนักเรียนที่อยู่ในที่เกิดเหตุทราบว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์ยิงนักเรียนในครั้งนี้ เวลาประมาณ 20.20 น. มีรถจักรยานยนต์สีขาว รุ่นฮอนด้าคลิ๊ก ไม่ทราบแผ่นป้ายทะเบียน ขับเข้ามาวนเวียนบริเวณหน้าร้านขายอาหาร ซึ่งอยู่ข้างโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง ขณะนั้นคนในร้านยังไม่ค่อยมีคนหนาแน่นมาก เนื่องจากนักเรียนกำลังเรียนอัลกุรอ่าน ในปอเนาะ (โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง) เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 20.30 น. นักเรียนที่เรียนอัลกุรอ่านเสร็จ ก็เข้าไปรับประทานอาหารในร้าน โดยปกติจะมีนักเรียนรับประทานอาหารในร้านนี้เป็นจำนวนมาก




กระทั่งเวลาประมาณ 20.40 น.มีคนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์สีขาว รุ่นฮอนด้าคลิ๊ก ไม่ทราบแผ่นป้ายทะเบียน 1 คันรถ ขับเข้ามาจอดหน้าร้านซึ่งอยู่ข้างโรงเรียน ริมถนนคอนกรีตข้างโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง ทั้งสองคนใส่ชุดธรรมดา (จากการสอบถามชาวบ้านคล้ายชุดนอกเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ตำรวจเวลาลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุ) สวมเสื้อป้องกันกระสุน บริเวณหน้าอกเขียนว่า “POLICE” เมื่อถึงหน้าร้านที่มีนักเรียนกำลังรับประทานอาหารและซื้ออาหารอยู่ในร้าน ระหว่างนั้นคนร้ายก็ได้ลงจากรถ เข้ามายิงใส่นักเรียนที่กำลังรับประทานอาหารในร้านในระยะประมาณ 8 เมตร โดยไม่ได้พูดจาแต่อย่างใด ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 คน จากนั้นคนร้ายก็ได้ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทางบ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
หลังเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านและเพื่อนนักเรียนก็ได้พาผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลปะนาเระ เมื่อถึงโรงพยาบาล ทราบว่า นายมูฮำหมัด นิเลาะห์ อายุ 22 ปี ซึ่งถูกยิงด้วยกระสุนปืนอาก้า (จากการสอบชาวบ้านที่พบในที่เกิดเหตุ)เจาะเข้าบริเวณสะโพก ทนพิษบาดแผลไม่ไหวได้เสียชีวิตลง จากนั้นแพทย์โรงพยาบาลปะนาเระได้ส่งตัว(Refer) ผู้ได้รับบาดเจ็บที่เหลืออีก 2 คนไปยังโรงพยาบาลปัตตานีและยะลา ทราบชื่อ นายมาหามะโซฟี ดาโอ๊ะ อายุ 19 ปี รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี ส่วนนายอับดุลเล๊าะ ดามะมิง อายุ 18 ปี อยู่บ้านเลขที่ 260 ม.3 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี กระสุนปืนเจาะเข้าศรีษะ บริเวณหน้าผาก แพทย์ส่งตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และทนพิษบาดแผลไม่ไหว ได้เสียชีวิตลงเป็นรายที่ 2 ในเวลาต่อมา
รายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บ
นายมาหามะโซฟี ดาโอะ อายุ 19 ปี เกิดวันที่ 6 พฤษจิกายน 2533 อยู่บ้านเลขที่ 37 ม.3 ต.แป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 1940700066705 กำลังรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลปัตตานี อาการปลอดภัยแล้ว


รายชื่อผู้เสียชีวิต
นายอับดุลเล๊าะ ดามะมิง อายุ 18 ปี เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 อยู่บ้านเลขที่ 260
ม.3 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 1941000160335
นายมูฮำหมัด นิเลาะห์ อายุ 22 ปี
หมายเหตุ...
จากการสอบถามชาวบ้าน ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 8 พย. 52 เกิดเหตุยิงกันบนถนนสายปะนาเระ – สายบุรี ม.4 ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ทราบชื่อ ดต.มานิตร เทพปกรณ์ อายุ 47 ปี ผบ.หมู่ ชุดสืบสวนสอบสวน สภ.ปะนาเระ ถูกยิงด้วยอาวุธปืน อาการสาหัส ซึ่งที่เกิดเหตุอยู่ใกล้หาดแฆแฆ ห่างจากจุดเกิดเหตุยิงนักเรียนโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิ่ง ประมาณ 5 กิโลเมตร

อ่านต่อ...

Our Blogger Templates Web Design

  © Blogger templates The Professional Template by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP