วันจันทร์, พฤศจิกายน 23, 2552

ทำไมตำรวจไม่ “ปกป้อง” ประชาขน



เมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดเหตุยิงถล่มกำนันที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่งบริเวณสถานีขนส่งประจำอำเภอที่อยู่ห่างจากสถานีเพียงแค่ 50 เมตร ในเวลาประมาณ 08.00 น.
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารดูแลความปลอดภัยให้ครูและนักเรียนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับจุดที่ยิง ทันทีที่ได้ยิงเสียงปืน ตำรวจไม่ออกมาจากป้อมเลยทั้งที่ปรกติจะมีรถตำรวจจอดอยู่บริเวณถนนหลายคันและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่หลายคน ประชาชนต้องช่วยกันนำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาลเอง ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุเพื่อตรวจหลักฐานเท่านั้น
การที่ตำรวจจะออกมาได้ก็ด้วยสโลแกนที่ว่า “ถ้าเราเห็นว่ายังไม่ปลอดภัยก็จะไม่ออกมา” นี่เป็นคำตอบที่ว่าทำไมเหตุการณ์ความไม่สงบยังคงเกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อยู่ในพื้นที่อย่างมากมาย


ความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเต็มไปด้วยคำถามที่ว่า “ทำไมไม่ช่วยเขา” ก็แค่ยิงขึ้นฟ้าหรือวิ่งออกมาหลายคนคงจะทำไห้คนร้ายตกใจหรือหนีไป หรือหากไม่กล้าจริง ๆ ก็น่าจะให้วิทยุสื่อสารเรียกกำลังเสริม อาจจะทำไห้เขาไม่ต้องตายก็ได้ หรืออาจจะมีคนเจ็บน้อยกว่านี้ นี่เขาเห็นชีวิตประชาชนไม่มีค่าหรืออย่างไร ไม่มีลูก ไม่มีภรรยา ไม่มี พ่อแม่ที่ต้องดูแลหรืออย่างไร ขนาดกำนันเป็นคนรัฐแท้ ๆ เขายังไม่ปกป้องเลย นับประสาอะไรกับชาวบ้านตาสีตาสา ถ้าจะถามว่าพวกเขากลัวระเบิดลวงแล้วชาวบ้านที่นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือคนที่อยู่บริเวณนั้นไม่กลัวหรือไง?
และยังมีความจริงที่น่าหดหู่อีกอย่างก็คือในเวลา 10.00 น.ของทุกวัน เขาจะตั้งด่านตรวจจราจร ??? ในบริเวณนั้นทุกวัน แต่ก่อนเวลา 10.00 น. เช่นนี้คงยังไม่ถึงเวลาที่เจ้าหน้าที่ออกมาปกป้องชีวิตของประชาชนตรงหน้าเขาได้ มีหรือไม่มีก็มีค่าเท่ากัน
งบประมาณกว่าแสนล้านที่มาจากภาษีประชาชนที่ลงมาแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จึงไม่ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้เลย ไม่มีความหมายต่อประชาชนได้เลย กำลังพลมากมายก็แก้ไขไม่ได้ เพราะคนไม่มีความจริงใจ ไม่มีศักยภาพ ไร้ความสามารถ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายไม่ว่า ตำรวจ ทหาร ปกครอง เกษตร และอื้น ๆ ได้ทำหน้าที่ของตัวอย่างเต็มที่ ก็คงให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การทำมาหากินของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน คงไม่เจอภาวะถดถอยเช่นนี้แน่ แล้วจะเป็นอย่างไรอีกกี่ปี???
สาเหตุของการเกิดปัญหาของความไม่สงบในภาคใต้มาจากหลากหลายสาเหตุ อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่ยุติธรรมต่าง ๆ ปัญหาอิทธิพล ปัญหาการเมืองท้องถิ่น ปัญหางบประมาณ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาความขัดแย้งส่วนตัว และปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาโดยการทุ่มสรรพกำลังลงมา หรืองบประมาณ หากไม่แก้ปัญหาไห้ตรงจุด
เพราะการแก้ปัญหาแค่ปัญหาแค่หนึ่งปัญหาด้วยงบประมาณและกำลังพลขนาดนี้ถือได้ว่า รัฐบาลขาดทุนในแง่การลงทุนอย่างสิ้นเชิง

0 ความคิดเห็น:

Our Blogger Templates Web Design

  © Blogger templates The Professional Template by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP