เรือเหาะดับไฟใต้ ใคร?ลับลวงพราง
สถานการณ์รุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีท่าทีว่าจะสงบลงโดยง่าย กลุ่มผู้ก่อการยังคงเคลื่อนไหว ก่อเหตุ ได้ต่อเนื่อง สวนกระแสงบประมาณ...กำลังพลที่รัฐทุ่มลงไป
"เรือเหาะติดกล้อง" สนนราคา 350 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งความหวัง
ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณกลางปี 2552 รายการกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เสนอจำนวน 350 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดหาระบบเรือเหาะ พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวัน กลางคืน
ด้วยเหตุผลสำคัญ...ยังขาดยุทโธปกรณ์ตรวจการณ์อากาศ เพื่อปรับกลยุทธ์ ให้ทันต่อเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบบเรือเหาะเป็นเรือบอลลูนตรวจการณ์บนอากาศ จัดซื้อจากสหรัฐฯ แยกย่อยเฉพาะตัวเรือบอลลูน 260 ล้านบาท...ตัวกล้องส่องกลางวัน กลางคืน 2 ตัว 70 ล้านบาท...งบฯที่เหลือ 20 ล้าน ใช้จัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น สมรรถนะการลอยหรือบินอยู่ในอากาศ บินได้สูงพ้นรัศมีทำการของปืนเอ็ม 16 ข้อมูลเรือเหาะที่เห็นเป็นข่าว...ผ่านมาถึงวันนี้ถือว่าน้อยพอดู ที่ผ่านมาหลายฝ่ายจึงกังวลว่าจะสามารถใช้งานได้เหมาะสมกับพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือไม่ ที่น่าสังเกต ฝ่ายความมั่นคงโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงมาตลอดว่า สถิติการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ลดลง และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจประกอบกับการทุ่มกำลังพลเพิ่มกว่า 6,000 นาย เข้าไปปฏิบัติการในหมู่บ้านสีแดง 217 หมู่บ้านในสามจังหวัด ภายใต้โครงการ "หมู่บ้านเสริมสร้าง สันติสุข" หรือ "หมู่บ้าน 3 ส." ตามยุทธศาสตร์เอาชนะที่หมู่บ้าน... เมื่อกำลังทหารมีอยู่ในหมู่บ้านสีแดงทุกแห่งแล้ว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงมีคำถามตามมา จำเป็นแค่ไหน ที่ต้องซื้อเรือเหาะเพื่อเอกซเรย์พื้นที่
"ยุทธการกลุ่มก่อความไม่สงบใช้วิธีก่อการร้ายในเมือง ไม่ทราบว่า...การใช้เรือเหาะจะป้องกันการก่อเหตุรุนแรงได้ตรงไหน..." แหล่งข่าวระดับสูงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งข้อสังเกต "หากจะอ้างว่าใช้เพื่อป้องปรามการรวมตัวของบรรดาแนวร่วม ค้นหาแหล่งฝึก ก็ยังมีคำถามตามมา เรื่องประสิทธิผลของเรือเหาะอยู่ดี..." จุดเด่นของกลุ่มก่อความไม่สงบ คือเคลื่อนที่เร็ว หากจับภาพการรวมตัวประชุมกันของบรรดาแนวร่วมได้...จะไล่จับทันไหม ที่เกิดขึ้น...กลุ่มผู้ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชน ปะปนกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้จัดตั้งเป็นกองกำลังที่มีฐานปฏิบัติการชัดเจนเพื่อต่อสู้ กับเจ้าหน้าที่รัฐ
"ที่ผ่านมา...ขนาดเจ้าหน้าที่เดินสวนกันในตลาด ยังไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนร้าย แล้วการใช้เรือเหาะขึ้นไปถ่ายภาพจะมีประโยชน์อะไร" ข้อกังวลสำคัญ เทคโนโลยีเรือเหาะตรวจการณ์ใช้มาตั้งแต่สงคราม โลกครั้งที่ 1 ไม่แน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพเท่าทันกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบันหรือไม่
"ที่ว่า...เรือเหาะเป็นเทคโนโลยีตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ล้าสมัย เป็นการพูดความจริงแค่ครึ่งเดียว...ต้องการดิสเครดิต ปัจจุบันหลายประเทศก็ใช้ อย่างทุกวันนี้...กองทัพสหรัฐฯก็ใช้เรือเหาะติดตามกลุ่มผู้ก่อการร้ายในอิรัก อัฟกานิสถาน" ผู้สันทัดกรณีสายพิราบ เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารทั้งในและนอกประเทศ ยืนยันเรือเหาะมีข้อดีคือประหยัด ลอยเอื่อยๆ ได้นานๆ โอกาสตกน้อยกว่าพวกที่ใช้ใบพัดหรือไอพ่น
เรือเหาะในปัจจุบันมักใช้ในการรวบรวมข่าวกรอง ติดตามสังเกตการณ์ได้ในเวลานานๆ และบินได้นานกว่า UAV หรืออากาศยานไร้คนขับค่อนข้างมาก... มีกล้องถ่ายภาพกลางวัน และกล้องอินฟาเรดถ่ายภาพกลางคืน แล้วส่งข้อมูลเข้าสู่สถานีภาคพื้นดินด้วยเพดานบินสูงเป็นหมื่นๆ ฟุต...ปืน M16...อาก้า หรือจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่าก็ไม่น่าจะยิงโดน เพราะเรือเหาะแผ่รังสีความร้อนต่ำ ระบบจรวดตรวจจับไม่ได้ ที่คิดกันว่า RPG จะยิงตก ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีระบบนำวิถี สืบค้นข้อมูลเรือเหาะสายพันธุ์สหรัฐฯ จับตาไปที่รุ่น...Aeros 40 D Sky Dragon ทำการบินครั้งแรกในปี 2551 ได้ใบรับรองจาก FAA สหรัฐฯ กองทัพบกไทยน่าจะเป็นลูกค้าที่เป็นกองทัพรายแรกๆ ของ Sky Dargon
เว็บไซต์บริษัทผู้ผลิต ระบุว่า ลูกค้าที่ต้องการจัดหาไปใช้ในการลาดตระเวน สามารถใช้ประโยชน์จากความเงียบ และการที่เรดาร์ตรวจจับตัวเรือเหาะได้ยาก เนื่องจากตัวเรือทำจากผ้าใบ มีระบบสื่อสารที่สื่อสารกับหน่วยข้างเคียง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เรือรบ หรือหน่วยภาคพื้นดินได้หลายหน่วย ด้วยการส่งข้อมูลในเวลาจริง (Real time) Sky Dargon ลำนี้ ตามสเปก...มีความยาว 46.6 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 82 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูง...สูงสุดที่ปฏิบัติการได้คือ 3,048 เมตร หรือ 10,000 ฟุต...อยู่บนอากาศได้นานที่สุด 24 ชั่วโมง ถ้าบินเดินทางด้วยความเร็วสูงสุด มีพิสัยปฏิบัติการ 563 กิโลเมตร ระยะเวลาบิน 6.5 ชั่วโมง ตัวเรือเหาะใช้เครื่องยนต์ Continental IO-240 B มีใบพัดแบบ 3 กลีบ 2 ชุด ที่ออกแบบมาให้ลดเสียงดัง Aeros 40 D Sky Dragon ทำการบินด้วยนักบินคนเดียวได้ และมีห้องโดยสารที่จุผู้โดยสารได้ 4-5 คน
ทรรศนะส่วนตัวผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารสายพิราบคนนี้ บอกตรงๆว่า...ยังไม่มั่นใจ การใช้เรือเหาะจะเป็นไอเดียที่ดีหรือเปล่า ภูมิประเทศสาม จังหวัดชายแดนใต้เป็นป่าทึบ แตกต่างจากตะวันออกกลางที่เป็นทะเลทราย...เปิดโล่ง ผนวกกับการก่อเหตุในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็แตกต่างกับในตะวันออกกลาง...ภาคใต้เป็นลักษณะของทหารบ้าน ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ตามฐานทัพที่เป็นหลักแหล่ง ลักษณะการก่อเหตุเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่นาที หรือเกิดด้วยกลุ่มคนขนาดเล็ก ซุ่มโจมตี ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นาน
"การก่อเหตุพื้นที่ในเมืองมักเป็นการวางระเบิด คนทำอาจแค่คน...สองคน ที่แทบจะแยกไม่ออกจากระบบตรวจการณ์ว่า คนไหนคือมือระเบิด ถ้าไม่มีการข่าวรองรับ" รายงานการปฏิบัติการกองทัพอากาศ วางกำลังในสามจังหวัดชายแดนใต้...กองกำลังเฉพาะกิจที่ 9 ระบุว่า หน่วยที่ร้องขอเที่ยวบิน ส่วนใหญ่จะขอเที่ยวบินในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะเวลากลางคืน ปี 51 ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพเวลากลางคืนด้วยกล้องอินฟาเรด (FLIR) 77 เที่ยวบิน คิดเป็น 126.7 ชั่วโมงบิน...ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางวันโดยใช้กล้องดิจิตอล 33 เที่ยวบิน คิดเป็น 48.6 ชั่วโมงบิน
แม้ว่าตัวเรือเหาะจะมีระบบตรวจจับที่ดีทั้งกลางวัน...กลางคืน ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการตรวจการณ์ที่ทำกันอยู่เพิ่มขึ้นมากแค่ไหน คุ้มค่ากับการใช้งานหรือไม่ ที่ไม่เข้าใจ และเป็นคำถามคาใจ ทำไม? กองทัพบกจึงเลือกระบบเรือเหาะที่มีคนขับ แทนที่จะเป็นระบบไร้คนขับ? "การใช้ระบบที่มีคน ก็ต้องเอาข้อจำกัดของคนใส่เข้าไปด้วย คนต้องกินข้าว ต้องเข้าห้องน้ำ มีเหนื่อยล้า...จะทำให้ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในอากาศลดลงจาก 24 ชั่วโมง" ก็ได้แต่หวังว่า...เหตุผลสำคัญที่ไม่ใช้ระบบบินอัตโนมัติ ไร้คนขับ UAV คงไม่ใช่...เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อให้ต่ำลงมากที่สุด เท่าที่ติดตามข้อมูลต่อเนื่อง...หากเรือเหาะลำที่กองทัพบกรับมอบมีเลขทะเบียนการผลิต (Manufacturing Serial Number : MSN) เป็น "21" ตามที่ปรากฏอยู่ตรงแพนหางด้านท้าย ถ่ายโดยคุณ MoonZz โพสต์ไว้ในเว็บ Thaiflight.com เป็นไปได้ที่เรือเหาะนัมเบอร์ "21"...จะเป็นลำต้นแบบ ลำเดียวกับที่บริษัทผลิตเอาไว้ทดสอบ ให้ FAA ประเมิน..." ซื้อเรือเหาะลำต้นแบบแล้วถูกกว่าราคาจริง...ก็ถือว่าไม่หนักหนา เพราะในโลกนี้ ก็มีคนซื้อเครื่องต้นแบบก่อนผลิตจริงมาบินกันอยู่หลายกองทัพ หรือหลายสายการบินทั้งทหาร...พลเรือน" แต่ถ้าซื้อราคาเท่ากับปกติหรือแพงกว่าปกติ ก็ต้องมองไกลไปว่า กองทัพ...ลับ ลวง พราง จัดซื้อเรือเหาะ 350 ล้านลำนี้.
"เรือเหาะติดกล้อง" สนนราคา 350 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งความหวัง
ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณกลางปี 2552 รายการกรณีฉุกเฉินและจำเป็น ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เสนอจำนวน 350 ล้านบาท เพื่อดำเนินการจัดหาระบบเรือเหาะ พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวัน กลางคืน
ด้วยเหตุผลสำคัญ...ยังขาดยุทโธปกรณ์ตรวจการณ์อากาศ เพื่อปรับกลยุทธ์ ให้ทันต่อเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบบเรือเหาะเป็นเรือบอลลูนตรวจการณ์บนอากาศ จัดซื้อจากสหรัฐฯ แยกย่อยเฉพาะตัวเรือบอลลูน 260 ล้านบาท...ตัวกล้องส่องกลางวัน กลางคืน 2 ตัว 70 ล้านบาท...งบฯที่เหลือ 20 ล้าน ใช้จัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น สมรรถนะการลอยหรือบินอยู่ในอากาศ บินได้สูงพ้นรัศมีทำการของปืนเอ็ม 16 ข้อมูลเรือเหาะที่เห็นเป็นข่าว...ผ่านมาถึงวันนี้ถือว่าน้อยพอดู ที่ผ่านมาหลายฝ่ายจึงกังวลว่าจะสามารถใช้งานได้เหมาะสมกับพื้นที่ใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือไม่ ที่น่าสังเกต ฝ่ายความมั่นคงโดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงมาตลอดว่า สถิติการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ลดลง และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจประกอบกับการทุ่มกำลังพลเพิ่มกว่า 6,000 นาย เข้าไปปฏิบัติการในหมู่บ้านสีแดง 217 หมู่บ้านในสามจังหวัด ภายใต้โครงการ "หมู่บ้านเสริมสร้าง สันติสุข" หรือ "หมู่บ้าน 3 ส." ตามยุทธศาสตร์เอาชนะที่หมู่บ้าน... เมื่อกำลังทหารมีอยู่ในหมู่บ้านสีแดงทุกแห่งแล้ว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงมีคำถามตามมา จำเป็นแค่ไหน ที่ต้องซื้อเรือเหาะเพื่อเอกซเรย์พื้นที่
"ยุทธการกลุ่มก่อความไม่สงบใช้วิธีก่อการร้ายในเมือง ไม่ทราบว่า...การใช้เรือเหาะจะป้องกันการก่อเหตุรุนแรงได้ตรงไหน..." แหล่งข่าวระดับสูงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งข้อสังเกต "หากจะอ้างว่าใช้เพื่อป้องปรามการรวมตัวของบรรดาแนวร่วม ค้นหาแหล่งฝึก ก็ยังมีคำถามตามมา เรื่องประสิทธิผลของเรือเหาะอยู่ดี..." จุดเด่นของกลุ่มก่อความไม่สงบ คือเคลื่อนที่เร็ว หากจับภาพการรวมตัวประชุมกันของบรรดาแนวร่วมได้...จะไล่จับทันไหม ที่เกิดขึ้น...กลุ่มผู้ไม่หวังดีแฝงตัวอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชน ปะปนกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้จัดตั้งเป็นกองกำลังที่มีฐานปฏิบัติการชัดเจนเพื่อต่อสู้ กับเจ้าหน้าที่รัฐ
"ที่ผ่านมา...ขนาดเจ้าหน้าที่เดินสวนกันในตลาด ยังไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนร้าย แล้วการใช้เรือเหาะขึ้นไปถ่ายภาพจะมีประโยชน์อะไร" ข้อกังวลสำคัญ เทคโนโลยีเรือเหาะตรวจการณ์ใช้มาตั้งแต่สงคราม โลกครั้งที่ 1 ไม่แน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพเท่าทันกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบันหรือไม่
"ที่ว่า...เรือเหาะเป็นเทคโนโลยีตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ล้าสมัย เป็นการพูดความจริงแค่ครึ่งเดียว...ต้องการดิสเครดิต ปัจจุบันหลายประเทศก็ใช้ อย่างทุกวันนี้...กองทัพสหรัฐฯก็ใช้เรือเหาะติดตามกลุ่มผู้ก่อการร้ายในอิรัก อัฟกานิสถาน" ผู้สันทัดกรณีสายพิราบ เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารทั้งในและนอกประเทศ ยืนยันเรือเหาะมีข้อดีคือประหยัด ลอยเอื่อยๆ ได้นานๆ โอกาสตกน้อยกว่าพวกที่ใช้ใบพัดหรือไอพ่น
เรือเหาะในปัจจุบันมักใช้ในการรวบรวมข่าวกรอง ติดตามสังเกตการณ์ได้ในเวลานานๆ และบินได้นานกว่า UAV หรืออากาศยานไร้คนขับค่อนข้างมาก... มีกล้องถ่ายภาพกลางวัน และกล้องอินฟาเรดถ่ายภาพกลางคืน แล้วส่งข้อมูลเข้าสู่สถานีภาคพื้นดินด้วยเพดานบินสูงเป็นหมื่นๆ ฟุต...ปืน M16...อาก้า หรือจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่าก็ไม่น่าจะยิงโดน เพราะเรือเหาะแผ่รังสีความร้อนต่ำ ระบบจรวดตรวจจับไม่ได้ ที่คิดกันว่า RPG จะยิงตก ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีระบบนำวิถี สืบค้นข้อมูลเรือเหาะสายพันธุ์สหรัฐฯ จับตาไปที่รุ่น...Aeros 40 D Sky Dragon ทำการบินครั้งแรกในปี 2551 ได้ใบรับรองจาก FAA สหรัฐฯ กองทัพบกไทยน่าจะเป็นลูกค้าที่เป็นกองทัพรายแรกๆ ของ Sky Dargon
เว็บไซต์บริษัทผู้ผลิต ระบุว่า ลูกค้าที่ต้องการจัดหาไปใช้ในการลาดตระเวน สามารถใช้ประโยชน์จากความเงียบ และการที่เรดาร์ตรวจจับตัวเรือเหาะได้ยาก เนื่องจากตัวเรือทำจากผ้าใบ มีระบบสื่อสารที่สื่อสารกับหน่วยข้างเคียง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เรือรบ หรือหน่วยภาคพื้นดินได้หลายหน่วย ด้วยการส่งข้อมูลในเวลาจริง (Real time) Sky Dargon ลำนี้ ตามสเปก...มีความยาว 46.6 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 82 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูง...สูงสุดที่ปฏิบัติการได้คือ 3,048 เมตร หรือ 10,000 ฟุต...อยู่บนอากาศได้นานที่สุด 24 ชั่วโมง ถ้าบินเดินทางด้วยความเร็วสูงสุด มีพิสัยปฏิบัติการ 563 กิโลเมตร ระยะเวลาบิน 6.5 ชั่วโมง ตัวเรือเหาะใช้เครื่องยนต์ Continental IO-240 B มีใบพัดแบบ 3 กลีบ 2 ชุด ที่ออกแบบมาให้ลดเสียงดัง Aeros 40 D Sky Dragon ทำการบินด้วยนักบินคนเดียวได้ และมีห้องโดยสารที่จุผู้โดยสารได้ 4-5 คน
ทรรศนะส่วนตัวผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารสายพิราบคนนี้ บอกตรงๆว่า...ยังไม่มั่นใจ การใช้เรือเหาะจะเป็นไอเดียที่ดีหรือเปล่า ภูมิประเทศสาม จังหวัดชายแดนใต้เป็นป่าทึบ แตกต่างจากตะวันออกกลางที่เป็นทะเลทราย...เปิดโล่ง ผนวกกับการก่อเหตุในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็แตกต่างกับในตะวันออกกลาง...ภาคใต้เป็นลักษณะของทหารบ้าน ไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ตามฐานทัพที่เป็นหลักแหล่ง ลักษณะการก่อเหตุเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่นาที หรือเกิดด้วยกลุ่มคนขนาดเล็ก ซุ่มโจมตี ซึ่งก็ใช้เวลาไม่นาน
"การก่อเหตุพื้นที่ในเมืองมักเป็นการวางระเบิด คนทำอาจแค่คน...สองคน ที่แทบจะแยกไม่ออกจากระบบตรวจการณ์ว่า คนไหนคือมือระเบิด ถ้าไม่มีการข่าวรองรับ" รายงานการปฏิบัติการกองทัพอากาศ วางกำลังในสามจังหวัดชายแดนใต้...กองกำลังเฉพาะกิจที่ 9 ระบุว่า หน่วยที่ร้องขอเที่ยวบิน ส่วนใหญ่จะขอเที่ยวบินในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะเวลากลางคืน ปี 51 ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพเวลากลางคืนด้วยกล้องอินฟาเรด (FLIR) 77 เที่ยวบิน คิดเป็น 126.7 ชั่วโมงบิน...ปฏิบัติภารกิจถ่ายภาพในเวลากลางวันโดยใช้กล้องดิจิตอล 33 เที่ยวบิน คิดเป็น 48.6 ชั่วโมงบิน
แม้ว่าตัวเรือเหาะจะมีระบบตรวจจับที่ดีทั้งกลางวัน...กลางคืน ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการตรวจการณ์ที่ทำกันอยู่เพิ่มขึ้นมากแค่ไหน คุ้มค่ากับการใช้งานหรือไม่ ที่ไม่เข้าใจ และเป็นคำถามคาใจ ทำไม? กองทัพบกจึงเลือกระบบเรือเหาะที่มีคนขับ แทนที่จะเป็นระบบไร้คนขับ? "การใช้ระบบที่มีคน ก็ต้องเอาข้อจำกัดของคนใส่เข้าไปด้วย คนต้องกินข้าว ต้องเข้าห้องน้ำ มีเหนื่อยล้า...จะทำให้ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในอากาศลดลงจาก 24 ชั่วโมง" ก็ได้แต่หวังว่า...เหตุผลสำคัญที่ไม่ใช้ระบบบินอัตโนมัติ ไร้คนขับ UAV คงไม่ใช่...เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อให้ต่ำลงมากที่สุด เท่าที่ติดตามข้อมูลต่อเนื่อง...หากเรือเหาะลำที่กองทัพบกรับมอบมีเลขทะเบียนการผลิต (Manufacturing Serial Number : MSN) เป็น "21" ตามที่ปรากฏอยู่ตรงแพนหางด้านท้าย ถ่ายโดยคุณ MoonZz โพสต์ไว้ในเว็บ Thaiflight.com เป็นไปได้ที่เรือเหาะนัมเบอร์ "21"...จะเป็นลำต้นแบบ ลำเดียวกับที่บริษัทผลิตเอาไว้ทดสอบ ให้ FAA ประเมิน..." ซื้อเรือเหาะลำต้นแบบแล้วถูกกว่าราคาจริง...ก็ถือว่าไม่หนักหนา เพราะในโลกนี้ ก็มีคนซื้อเครื่องต้นแบบก่อนผลิตจริงมาบินกันอยู่หลายกองทัพ หรือหลายสายการบินทั้งทหาร...พลเรือน" แต่ถ้าซื้อราคาเท่ากับปกติหรือแพงกว่าปกติ ก็ต้องมองไกลไปว่า กองทัพ...ลับ ลวง พราง จัดซื้อเรือเหาะ 350 ล้านลำนี้.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น