วันศุกร์, ตุลาคม 01, 2553

ทหารพราน ยศสิบเอก

เมื่อวันที่ 30 กย. 2553 เวลา 22:05 สำนักข่วของ breakingnews.nationchannel.com รายงานว่า น.พ.ต.อ. สมพงศ์ ทิพย์อาภากุล ผกก.สภ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช พร้อม ด้วย ร.ต.ท.สวัสดิ์ นิยมเดชา รอง สว.สส.ภ.จว.นครศรีธรรมราช พร้อมกำลังตำรวจในปกครอง ได้ตั้งจุดตรวจบนถนนสายทุ่งใหญ่- พระแสง ม.3 ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ หลังจากสืบทราบว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ผู้ต้องสงสัยจากการสืบสวนจะขนสิ่งผิดกฎหมายผ่านเส้นทางนี้
หลังจากตั้งด่านได้ไม่นานพบรถยนต์ฮอนด้าซีวิค สีเทา ทะเบียน ลน-7461 กทม. ขับผ่านมาด้วยท่าทางมีพิรุธ จึงเรียกให้หยุดเพื่อทำการตรวจค้น แต่คนขับรถเก๋งคันดังกล่าวได้หนุดรถและบอกว่าเป็นทหารก่อนที่เร่งเครื่องออก ไปจากด่านทันทีโดยมีเจ้าหน้าที่ไล่ตามไปอย่างกระชั้นชิด จนห่างจากจุดตรวจประมาณ 2 กม.รถยนต์เก๋งคันดังกล่าวเสียหลักตกข้างทางแต่คนขับไม่ได้รับบาดเจ็บ จึงเข้าทำการจับกุมตัวชายคนขับรถคนดังกล่าวไว้ได้ทราบชื่อคือสิบเอกมนตรี ศักดิ์แสง อายุ 35 ปี และยังพบบัตรประจำตัวตัวเป็นทหารพราน ยศสิบเอก สังกัด ฉก.กรมทหารพรานที่ 41 ยะลา มีชื่อตามบัตรประชาชนอยู่ที่บ้านเลขที่ 1 ถ.ราชดำเนินต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้นรถพบใบกระท่อม บรรจุถุงดำ 5 ใบ น้ำหนัก 22 กก. ปืน อาวุธปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก กระสุน เอ็ม 16 จำนวน 200 นัด ซองกระสุน 3 อัน กระสุนเอ็ม 79 จำนวน 3 นัด เครื่องยิงเอ็ม 79 -1 กระบอก เสื้อเกราะกันกระสุนหนึ่งตัว วิทยุสื่อสาร หนึ่งเครื่อง เครื่อง แบบทหารหนึ่งชุด จึงแจ้งข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนสงครามซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบ อนุญาตได้ และมียาเสพติดประเภท5ไว้ในครอบครอง จากนั้นจึงนำตัวผู้ต้องหานำส่ง พ.ต.ท. เกษม จอมพงศ์ พนักงานสอบสวนเวร สภ.ทุ่ง ใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยเบื้องต้นสอบสวนผู้ต้องหาทราบว่า ผู้ต้องหารายนี้เดินทางจากค่ายทหาร ฉก.กรมทหารพรานที่ 41 ยะลามาซื้อใบกระท่อม ใน อ.ทุ่งใหญ่ เพื่อนำไปขายให้กับวัยรุ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน กก.ละ 700 บาท จนกระทั่งมาถูกตำรวจตั้งด่านตรวจจับกุมได้ในที่สุดดังกล่าว ส่วนอาวุธปืนสงครามและเครื่องกระสุนปืนทางตำรวจจะได้สอบสวนที่มาที่ไปต่อไป รวมทั้งพฤติกรรมของทหารรายนี้ต่อไป

อ่านต่อ...

วันเสาร์, กันยายน 25, 2553

ยิงโต๊ะอิหม่ามยะลาดับพร้อมภรรยา

คนร้าย ยิง โต๊ะอิหม่าม พร้อมภรรยา เสียชีวิต หลังเดินทางออกจากมัสยิด เพื่อกลับบ้าน
เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ นำกำลังเข้าตรวจสอบ เหตุคนร้ายลอบยิง โต๊ะอิหม่าม พร้อมภรรยา บริเวณบ้านพักเลขที่ 34 บ้านคอลอกาปะ หมู่ที่ 6 ต.กะรุบี อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทันที 2 ราย ทราบชื่อคือ นายดอมิง ยีวะแต อายุ 59 โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด บ้านคอรอกาปะ และนางกือโซโต๊ะ ดาโต๊ะ อายุ 53 ปี ภรรยา กระสุนถูกบริเวณลำตัว จากการสอบสวน ทราบว่า นายนายดอมิง พร้อมภรรยา เดินทางออกจากมัสยิด เพื่อกลับบ้านพักระหว่างทางถูกคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวน ซุ่มอยู่ข้างทางโดยใช้อาวุธปืนพกสั้นไม่ทราบขนาดยิงใส่ก่อนหลบหนีไป ส่วนประเด็นและสาเหตุ อยู่ระหว่างการสืบสวนและสอบสวน

อ่านต่อ...

วันจันทร์, กันยายน 20, 2553

ผู้พิทักษ์กับศิลธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชาายแดนภาคใต้ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบถึงภาพลักษณ์ของคนในพื้นที่ เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะเกิดขึ็นกับการปฎิบัติหน้าที่ เพราะรู้ทั่งรู้ว่าจะก่อให้เกิดความเกลียดชังกับคนในพื้นที่ มันสะท้อนให้เห็นว่า ทำให้สังคมของคนในพื้นทีไม่สามารถจะยอมรับกับการกระทำที่นำไปสู่ความเสียหายในเรื่องของหลักการอิสลาม

อ่านต่อ...

วันพฤหัสบดี, กันยายน 02, 2553

สงสัยดูต้นทาง

เมื่อวันที่ 2 กันยายน เวลา 18.30 น. พ.ต.อ.วัลลพ จำนงอาสา ผกก.สภ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้นำกำลังเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัย 2 ราย คือ นายมะยือนัน จาเฮง อายุ 22 ปี และ นายซูไฮมี ตาเยะ อายุ 21 ปี หลังพบเบาะแสและมีพยานหลักฐานว่าทั้งสองคนเป็นคนดูต้นทางให้กับคนร้ายเข้าไปก่อเหตุบุกยิง นายสรรค์ชัย อัครพงษ์พันธ์ อายุ 57 ปี รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนอก เสียชีวิตภายในบ้านเลขที่ 41/42 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ วันที่ 17 สค.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้ที่ บริเวณบ้านคลองต่ำ ม.4 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ก่อนจะนำตัวไปสอบสวนต่อที่หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี หวังว่าพยานหลักฐานจะไม่ใช่แค่คำพูด ที่จะทำให้ผู้ต้องสงสัยกลายเป็นแพะรับบาปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

อ่านต่อ...

วันศุกร์, สิงหาคม 27, 2553

อดีตทหารพรานฆ่าข่มขืนนร.ป.5

พล.ต.ท.วีระยุทธ สิทธิมาลิก ผบช.ภาค 9 พล.ต.ต.ชนสิษฎ์ วัฒนาวรางกูร ผบก.ภ.จว.สงขลา พ.ต.อ.สาคร ทองมุณี รอง ผบก.ภ.จว.สงขลา พ.ต.ท.ศักดา เจริญกุล รอง ผกก.ฯ พ.ต.ท.ดุสิต พรหมสิน รอง ผกก.ฯพ.ต.ท.พัฒนพงศ์ ศรีพิณเพราะ สว.กก.สส. ได้ควบคุมตัว นายนิตย์ติชัย ราชวงษ์ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 112 / 7 ถ.ศรีภูวนารถใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อดีตอาสาสมัครทหารพรานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ก่อเหตุล่อลวง ด.ญ.ไอลดา สะตะ หรือ น้องภู่ นักเรียนชั้น ป. 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดคลองเรียน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปข่มขืนและฆ่าอย่างโหดเหี้ยมในชุดนักเรียนทิ้งศพในป่าละเมาะใกล้กับวัดชัยชนะสงคราม หมู่ 1 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา สอบสวน นายนิตย์ติชัย ให้การรับสารภาพว่า วันเกิดเหตุได้วนเวียนหาเหยื่อ ซึ่งเป็นหญิงสาวเพื่อที่จะล่อลวงไปข่มขืนและชิงทรัพย์ ก่อนจะพบกับ ด.ญ.ไอลดา เดินอยู่ใกล้โรงเรียน จึงเข้าไปตีสนิทด้วยการซื้อน้ำอัดลมให้ดื่ม และออกอุบายว่าจะไปส่งที่บ้าน แต่ได้พาไปยังที่เกิดเหตุ ซึ่งห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นได้พยายามบังคับขืนใจแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจาก ด.ญ.ไอลดา ร้องเสียงดังจึงบันดาลโทสะ ด้วยการใช้ก้อนหินทุบเข้าที่ศรีษะ 3 ครั้ง จนเสียชีวิตโดยที่ไม่มีโอกาสแม้ร้องขอชีวิต จากนั้นจึงใช้เหรียญห้าบาทยัดใส่คอ เพื่อสะกดวิญญาณ และนำกิ่งไม้และใบไผ่มาปิดอำพรางศพเอาไว้ ซึ่งเกิดเหตุกลัวความผิดจึงหลบหนีไปกบดานที่บ้านที่จ.นราธิวาส
พล.ต.ท.วีระยุทธ กล่าวว่า จากการสืบสวนพบว่าผู้ต้องหารายนี้ เคยก่อคดีข่มขืนหญิงสาวมาแล้วอย่างน้อย 10 ราย โดยในจำนวนนี้มี 4 ราย ที่ผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ และทุกรายจะขับขี่รถจักรยานยนต์ พาไปบังคับข่มขืนและบังคับเอาทรัพย์สินที่ป่าละเมาะใกล้กับวัดชัยชนะสงคราม นอกจากนี้ทราบว่าหลังจากที่ก่อเหตุฆ่าด.ญ.ไอลดา ในวันที่ 22 สิงหาคมแล้ว ถัดมาอีกวัน ผู้ต้องหารายนี้ ยังได้บังคับหญิงสาวอีกคน ไปข่มขืนปล้นทรัพย์ด้วย ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้ต้องหารายนี้ ยอมรับว่ามีความวิปริตทางเพศ และมีความต้องการทางเพศสูงและหมกมุ่นในเรื่องเพศ
เบื้องต้นตำรวจได้แจ้งข้อหาพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง , ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตน โดยขู่เข็นด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยบุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้และชิงทรัพย์ของผู้อื่น

อ่านต่อ...

วันพุธ, สิงหาคม 25, 2553

ฆาตกรโหดฆ่าเยาวชนมลายูมุสลิม

(ฆาตกรโหดฆ่าเยาวชนมลายูมุสลิม, จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย)

เหตุการณ์ทารุณและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย หรืออดีตประเทศฟาตอนี ดารุสสลาม คำว่า ทรราชย์ และ ความโหดร้าย ที่มีต่อมนุษยชนในวันนี้เป็นเรื่องที่ปกติไปแล้วสำหรับพวกเรา แต่ความทรราชย์และความโหดร้ายนั้นมันจะมีต่อไปจนถึงเมื่อไรกัน! อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับการสังหารโหดของวัยรุ่นอายุ 20 ปีชื่อ อีมาดุดดีน บิน ฮารูน มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านที่จังหวัดนราธิวาส หมูบ้านยาลูตง (Yalutong) แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียและกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ถ้าสังเกตดูเหตุการณ์การสังหารในครั้งนี้แล้วเหมือนมีการวางแผนการสังหารมาเรียบร้อยแล้ว และผู้ที่วางแผนการสังหารครั้งนี้ก็สามารถพูดได้เต็มปากและชัดเจนด้วยความแน่ใจว่าไอ้ชั่วผู้นั้นคือ ซีแย ละนาตุลลอฮ (Siam laknatullah)
เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 สิงหาคม 2553 ผู้ตายที่ชื่อ อีมาดุดดีน บิน ฮารูน ก็ไปหาเพื่อนที่นัดเจอกัน ณ สุไหงโกลกกับเพื่อนสนิทอีกคน พอถึงที่สุไหงโกลก ผู้ตายและเพื่อนที่ไปด้วยกันก็เจอเพื่อนที่นัดเจอกัน ซึ่งปัจจุบันเพื่อนของผู้ตายคนนั้นทำงานรับจ้างเป็นทหารพราน หลังจากที่ได้คุยกันเพื่อนผู้ตายที่เป็นทหารพรานก็จับกุมผู้ตายไว้และไล่ให้เพื่อนผู้ตายอีกคนหนึ่งที่มาด้วยกัน

จากการสอบปากคำจากเพื่อนผู้ตายที่ไปด้วยกันนั้น เขาบอกว่า หลังจากที่ผู้ตายโดนล็อกจับกุมนั้น มีทหารพรานคนหนึ่งที่มากับกลุ่มเพื่อนผู้ตายที่เป็นทหารพรานด้วยกัน ส่งสัญญาณด้วยมือกับเพื่อนทหารพรานอีกคนด้วยสัญลักษณ์ “เชือดคอ หรือ ตัดคอ” แล้วชี้ไปที่ผู้ตายที่โดนล็อกจับกุม

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ทหารพรานที่นัดเจอกับผู้ตายนั้น ซึ่งเขาเคยเป็นเพื่อนกันและรู้จักกัน มีชื่อเล่นว่า มัง มุนดุก (Mang Munduk) ซึ่งคาดว่าเขาน่าจะเป็นสายของซีแยหรือทหารไทย และเขาเองนั้นแหละที่เป็นคนติดต่อผู้ตายที่อาศัยทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียให้กลับมา

ในวันอาทิตย์ ที่ 8 สิงหาคม 2553 เวลาประมาณที่บ่าย 2 ผู้ตายได้โทรติดต่อไปหาพ่อของเขา และบอกพ่อเขาว่าเขาจะไปสุไหงโกลก หลังจากนั้นสายก็หลุดไป และพ่อผู้ตายก็ไม่สามารถติดต่อได้อีก

เมื่อตอนเย็นของวันอาทิตย์ วันเดี่ยวกันนั้น เพื่อนของผู้ตายที่ไปด้วยกันกับผู้ตายนั้น (ไม่ใช่เพื่อนผู้ตายที่เป็นทหารพรานน่ะ) ได้โทรกลับไปแจ้งและเล่าเหตุการณ์ให้บิดาของผู้ตายทราบ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ว่า “ผู้ตายโดนจับตัวไป และในช่วงโดนจับตัวนั้นเขาแอบดูเหตุการณ์และเห็นทหารพรานคนหนึ่งที่มากับกลุ่มเพื่อนผู้ตายที่เป็นทหารพรานด้วย ส่งสัญญาณด้วยมือกับเพื่อนทหารพรานอีกคน ด้วยสัญลักษณ์ “เชือดคอ หรือ ตัดคอ” แล้วชี้ไปที่ผู้ตาย”

และพ่อของผู้ตายก็ได้ให้ความด้วยว่า “ในช่วงที่เขาคุยโทรศัพท์กับลูกชายนั้นเขาก็รู้สึกแปลกใจแล้ว เนื่องจากได้ยินเสียงของลูกแปลกๆ เหมือนกับเหนื่อยๆ และคิดว่าเบื้องหลังน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งพ่อของผู้ตายเชื่อว่าอย่างนั้น แต่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย จนสายหลุดไปและไม่สามารถติดต่อได้อีก

ผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายอย่างทารุณและโหดร้ายตั้งแต่วันเสาร์จนถึง 4 โมงเย็นของวันอาทิตย์ ก็เสียชีวิต เนื่องจากทนความเจ็บปวดและทรมานไม่ได้ โดยหลักฐานบนร่างกายชัดเจน ที่เห็นในภาพมีลักษณะร่างกายที่มีรอยเผาไหม้ คิดว่าน่าจะโดนทรมานด้วยเหล็กร้อน ถูกตัดคอหรือเชือดคอตั้งแต่ข้างหน้าจนถึงข้างหลัง โดนแทงด้วยมีดรวมกัน 4 แผล และในวันนั้นเองก็มีชาวบ้านคนหนึ่งเข้าไปเก็บลูกสะตอในสวน และได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือในบริเวณสวนป่า แต่เขาก็ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากเขาเองก็กลัว จนวันรุ่งขึ้นเขาก็ไปดูแต่ก็เจอศพของอีมาดุดดีน บิน ฮารูณ แล้ว















อ่านต่อ...

วันเสาร์, สิงหาคม 14, 2553

โจรใต้รายสัปดาห์ ต้อนรับรอมาฎอน

โจรใต้ซิ่งมอเตอร์ไซค์ ประกบยิงตร.ปัตตานีดับ "ยะลา"เดือดโจรนับสิบ ถนนผัว-เมียจ่อหัวซ้ำดับ

      เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 09.00 น. พ.ต.อ.จักรภพ ท้าวฤทธิ์ ผกก.สภ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งมีเหตุยิงกันบนถนนสาย 42 เส้นทางนราธิวาส ปัตตานี ม.3 ต.ตันหยงดาลอ จึงนำกำลังตำรวจ ทหาร เข้าไปที่เกิดเหตุ พร้อมด้วย พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศษฐพันธ์ ผบก. พ.ต.อ.จีรวัฒน์ อุดมสุด รอง ผบก. และหน่วยพิสูจน์หลักฐาน

ในที่เกิดเหตุพบรถจักรยานยน( จยย.) ยี่ห้อยามาฮ่า ทะเบียน กมก 334 ยะลา สภาพชนกับเสาไฟฟ้าได้รับความเสียหาย ส่วนคนเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลยะหริ่ง และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบชื่อ จ.ส.ต.ตาเละ ดอเลาะ อายุ 37 ปี สังกัด ผบ.หมู่ งานสืบสวนสอบสวน สภ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ถูกยิงด้วยอาวุธปืนพกสั้นขนาด 11 มม. เข้าศีรษะ 2 นัด ลำตัว 2 นัด ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุน จำนวน 6 ปลอก ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
จากการสอบสวนก่อนเกิดเหตุทราบว่า ขณะที่ผู้ตายขับ จยย. ออกมาจากบ้านพักใน ต.ปาลัส อ.มายอ และกำลังมุ่งหน้าไปโรงพักเพื่อเข้าเวร โดยที่ผู้ตายได้ใส่เสื้อนอกเครื่องแบบ ปรากฏว่าเมื่อมาถึงที่เกิดเหตุมีคนร้าย 2 คนขับ จยย. ไล่ตามหลัง ผู้ตายเห็นผิดสังเกตจึงได้เร่งเครื่องหนีด้วยความเร็ว แต่ก็ไม่ทันถูกคนร้ายชักอาวุธปืนกระหน่ำยิงหลายนัดถูกผู้ตาย จนรถเสียหลักพุ่งชนเสาไฟฟ้าข้างทาง อย่างรุนแรงจนเสียชีวิตในที่สุด จากนั้นคนร้ายเร่งเครื่องหลบหนีไป หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำกำลังปิดล้อมตรวจค้นบริเวณที่เกิดเหตุทันที เชื่อว่าคนร้ายยังคงกบดานในพื้นที่และพยายามที่จะออกมาก่อเหตุสร้าง สถานการณ์อีก

ยิงถล่ม 2 ผัวเมียยะลาก่อนจ่อหัวซ้ำดับสยอง
 

     โจรใต้ นับ10 คน ยิงถล่ม 2 ผัวเมียยะลาขณะออกไปกรีดยาง ก่อนจ่อยิงหัวดับ คาดเป็นแผนลวงเจ้าหน้าที่
วันที่ 14 สิงหาคม 2553 เมื่อเวลา 06.00 น.พ.ต.ท.ธนสิทธิ์ มัทยาท สารวัตร สภ.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา ได้รับแจ้งเหตุจากศูนย์วิทยุ 191 สภ.ลำใหม่ ว่ามีคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวนใช้อาวุธปืนสงครามยิงถล่มชาวบ้านในสวน ยางพารา จนเสียชีวิตจำนวน 2 ราย ที่บริเวณบ้านทุ่งคา หมู่ที่ 2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา
ในที่เกิดเหตุบริเวณดังกล่าวอยู่บริเวณทางโค้งทางหลวงชนบทสายลำใหม่ - ทุ่งยามู พบศพนายสาคร มีทอง อายุ 42 ปี และนางสมพิศ มีทอง อายุ 41 ปี เป็นสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 1 บ้านบาเงง ต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ถูกกระสุนปืนหลายชนิดเจาะที่ศีรษะและตามร่างกายหลายแห่ง นอนเสียชีวิตคารถจักรยานยนต์ยี่ห้อซูซูกิ สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียน กลท-545 ยะลา ห่างกันเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ตำรวจพบปลอกกระสุนปืนสงครามอาก้า เอ็ม16 ลูกซอง และขนาด 9 มม.ตก จำนวน 20 ปลอก
จากการสอบสวนทราบว่า นายสาคร มีทอง ผู้ตายมีอาชีพกรีดยางพารา ก่อนเกิดเหตุประมาณ 01.00 น. นายสาครพร้อมด้วยนางสมพิศขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวออกมาจากบ้านพัก เดินทางไปกรีดยางที่สวนยางพาราท้ายหมู่บ้านบ้านทุ่งคาตามปกติ ขณะทั้งคู่มาถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งและเป็นจุดเปลี่ยว กลุ่มคนร้ายไม่ทราบกลุ่มไม่ต่ำกว่า 10 คน ซุ่มอยู่ข้างทางได้ใช้อาวุธปืนสงคราม และลูกซองยิงถล่ม ทำให้รถจักรยานยนต์ล้มลง กลุ่มคนร้ายยังได้เข้าไปใช้อาวุธปืนพกสั้นจ่อยิงศีรษะทั้ง 2 อย่างโหดเหี้ยม เพื่อให้แน่ใจว่าได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังก่อเหตุได้อาศัยความชำนาญในพื้นที่หลบหนีไปอย่างรวดเร็ว
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่ สงบที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ พยายามก่อเหตุร้ายโดยวางแผนถล่มยิงผู้บริสุทธิ์ทั้ง 2 คนเพื่อหลอกล่อ และ คอยซุ่มทำร้าย เจ้าหน้าที่ชุดที่เข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุ

โจรใต้คาร์บอมบ์นราฯ ถล่มหน้าแบงค์กสิกร จนท.รู้ตัว-ไร้คนเจ็บ
 

     เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม เวลา 08.05 น. ขณะที่พ.ต.ท. สมชาย นพศรี รอง ผกก.สส.สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ สภ. ได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่นไหว บริเวณหน้าธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอรือเสาะ ตั้งอยู่เขตเทศบาลตำบลรือเสาะห่างจาก สภ.รือเสาะ ประมาณ 150 เมตร จึงนำกำลังรีบรุดไปที่เกิดเหตุ

เมื่อไปถึงพบรถยนต์เก๋งยี่ห้อฮอนด้า สีดำ ทะเบียน กน-4803 สงขลา จอดอยู่บนถนนหน้าธนาคารมีไฟลุกท่วมทั้งคัน เจ้าหน้าที่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย ใช้น้ำฉีดสกัดกั้นต้นเพลิงที่อาจจะลุกลามไปยังอาคารพาณิชย์ของราษฏรที่อยู่ ใกล้จุดเกิดเหตุ และกำลังเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งได้กระจายกำลังปิดกั้นจราจร เมื่อเพลิงสงบลงเจ้าหน้าที่จึงได้เข้าตรวจสอบ

จากการตรวจสอบพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวถูกอนุภาพระเบิด ได้รับความเสียหายทั้งคัน และพบซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในถังแก๊สปิกนิก หนัก 20 กิโลกรัม จุดชนวนด้วยการตั้งปลุกจากโทรศัพท์มือถือตกกระจายเกลื่อนพื้นถนน เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

นอกจากนี้อนุภาพของระเบิด ยังส่งผลทำให้กระจกประตูทางเข้าของธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอรือเสาะ ได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาคารพาณิชย์ของราษฏร ได้รับความเสียหายไปอีกเกือบ 10 หลัง เจ้าหน้าที่จึงเก็บรวบรวมหลักฐานในที่เกิดเหตุ พร้อมประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบภาพโทรทัศน์วงจรปิดตามจุดต่างๆ ที่ติดไว้ตามเสาไฟฟ้าตลอดบริเวณหน้าธนาคารกสิกรไทยและบ้านเรือนของราษฏร เพื่อตรวจสอบภาพที่บันทึกไว้ในการติดตามจับกุมคนร้ายมาลงโทษ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่อง มาจาก จ.ส.ต. สุรินทร เสียงอ่อน ผู้บังคับหมู่งานจราจร ได้รับแจ้งเบาะแสจากชาวบ้านว่า เมื่อเวลาประมาณ05.10 น.ได้มีชายวัยรุ่น 1 คน ขับรถยนต์คันดังกล่าวมาจอดและมีท่าทางพิรุธ แถมยังมีวัยรุ่นอีก 1 คน ขี่รถจักรยานยนต์มารับออกจากจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว

โจรใต้บึ้มรถตร. พตท.เจ็บสาหัส


 
      โจรใต้ระเบิดรถตร. พ.ต.ท. โรงพักระแงะเจ็บสาหัส ขณะออกลาดตระเวนตรวจสถาน การณ์ในพื้นที่แวะเข้าเติมน้ำมันที่ปั๊ม หลังเติมเสร็จจะขับออกประตูปั๊ม คนร้ายที่ฝังระเบิดไว้หน้าประตูกดระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้พ.ต.ท. ร.ต.ต. และส.ต.ท. ที่มาด้วยกันเจ็บอาการสาหัสทั้งหมด คาดเป็นการลงมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ ที่เคยประกาศจะลงมือในช่วงเดือนรอมฎอน
เมื่อวันที่ 12 ส.ค. เวลา 10.30 น. ร.ต.อ.ศรเพชร ตันติอมรชัยกุล ร้อยเวร สภ.ระแงะ จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดดักสังหาร พ.ต.ท.สมใจ เหมืองมิ้น สวป.สภ. ระแงะ และพวกได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 นาย เหตุเกิดตรงประตูทางเข้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดตันหยงมัสออลย์ เลขที่ 157/4 ม.1 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ ตรงข้ามบ้านพักของนายนัจมุดดีน อูมา ส.ส.นราธิวาส พรรคมาตุภูมิ จึงพร้อมด้วย พ.ต.อ.ชาญ วิมลศรี รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส นายศุภวริศ เพชรกาฬ นายอำเภอระแงะ และหน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด นปพ.นราธิวาส รวมทั้งเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารฝ่ายปกครองจำนวนหนึ่งรุดเดินทางไปตรวจสอบที่ เกิดเหตุ

เมื่อไปถึงพบรถยนต์กระบะ 4 ประตูยี่ห้อโตโยต้า ของ สภ.ระแงะ จอดอยู่บริเวณประตูทางเข้า ในสภาพถูกสะเก็ดระเบิดได้รับความเสียหายทั่วคัน มีกองเลือดที่เบาะโดยสาร ห่างจากรถไปประมาณ 2 เมตรเจ้าหน้าที่พบหลุมระเบิดใต้ป้ายบอกทางเข้าของปั๊มน้ำมันปตท. มีหลุมลึก 1 ฟุต กว้าง 3 ฟุต และมีเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในกล่องเหล็ก หนัก 5 ก.ก. จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ตกกระจายเกลื่อนพื้นถนนและพงหญ้ารกทึบริมทาง ส่วนผู้บาดเจ็บทั้ง 3 นายนำตัวส่งร.พ.ระแงะไปก่อนแล้ว

ต่อมาเจ้าหน้าที่เดินทางไปดูอาการผู้บาดเจ็บ ประกอบด้วย พ.ต.ท.สมใจ ถูกสะเก็ดระเบิดที่แขนซ้ายหักและที่ลำตัวอีกหลายแห่ง ร.ต.ต.มนัส อนุกูล รอง สวป.สภ.ระแงะ ถูกสะเก็ดระเบิดที่ใบหน้า ลำคอและหน้าอก และส.ต.ท.พิเชษฐ์ ทิพย์วารี ผบ.หมู่งานป้องกันปราบปราม ถูกสะเก็ดระเบิดที่แขนซ้าย ใบหน้าและหน้าอก ทั้ง 3 นายอาการสาหัส แพทย์ต้องรีบปฐมพยาบาล ก่อนที่ส่งตัวไปรักษาต่อที่ร.พ.นราธิวาสราชนครินทร์

สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ ส.ต.ท. พิเชษฐ์ พลขับ ได้ขับรถยนต์สายตรวจออกจาก สภ.ระแงะ โดยมีพ.ต.ท.สมใจ และร.ต.ต.มนัส นั่งมาในรถ เพื่อไปเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท. เมื่อเติมน้ำมันแล้วเสร็จเจ้าหน้าที่ทั้งสามก็นำรถออกลาดตระเวนตรวจสอบความ เรียบร้อยพื้นที่รับผิดชอบ โดยส.ต.ท.มนัสได้ขับรถยนต์สวนประตูทางเข้าปั๊มเพื่อออกถนนใหญ่ ในช่วงจังหวะนั้นได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวน ที่แฝงตัวอยู่ในละแวกจุดเกิดเหตุ ได้ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิดที่นำไปฝังไว้ที่ป้ายประตูทางเข้าปั๊ม เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 นายบาดเจ็บสาหัสดังกล่าว ก่อนที่คนร้ายจะหลบหนีไป เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ว่าจะลอบก่อเหตุร้ายในช่วงเดือนรอมฎอน

ยะลาเผารถพ่อค้าแม่ค้าจอดหลังสวนสนุกวอดกลางดึก
 

     เมื่อ เวลา 23.00 น. วันที่ 10 ส.ค. ศูนย์วิทยุ สภ.กาบัง จ.ยะลา ได้รับแจ้งว่าเกิดเหตุลอบวางเพลิงรถยนต์ บริเวณลานหลังสวนสนุก บ้านบันนังดามา ม.1 ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายด้วย จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบรถยนต์ถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหาย 2 คัน คือ รถยนต์ยี่ห้ออีซูซุ หมายเลขทะเบียน บว4041 นครศรีธรรมราช ของนายอาทิตย์ ไก่แก้ว อยู่บ้านเลขที่ 101 ต.หินตาก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช และรถยนต์นิสัสน สีบรอนท์เทา หมายเลขทะเบียน บม5745 อุดรธานี ของนางจำปี สุทธิประภา ทั้งสองคนมีอาชีพค้าขาย

ส่วนสาเหตุอยู่ในระหว่างการสอบสวนว่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบหรือเป็นความขัดแย้งในเรื่องใดหรือไม่


อ่านต่อ...

วันจันทร์, สิงหาคม 09, 2553

รอยด่างงานเยียวยา...ผู้สูญเสียแฉขบวนการหาประโยชน์จากคราบน้ำตาเหยื่อความรุนแรง

การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ยังคงเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งทศวรรษเช่นนี้ ซึ่งส่งผลให้มีเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน
งานเยียวยาเกือบทุกมิติในปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เฉพาะกลุ่มเด็กกำพร้าและสตรีหม้าย มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเป็นกรณีพิเศษ ชื่อว่า คณะอนุกรรมการบูรณาการการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ หรือ กยต. ซึ่งเพิ่งจัดประชุมกันไปเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยคณะ กยต.เชิญผู้แทนจากโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา เข้าให้ข้อมูลและสังเกตการณ์ด้วย การประชุมของคณะ กยต.ที่เพิ่งจบลง นับเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 2553 ที่สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 12 จังหวัดสงขลา โดยมี นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวง พม.นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานด้วยตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาในลำดับต้นๆ ที่ต้องเร่งสะสางอย่างแท้จริง
“ผมคิดว่าจริงๆ แล้วการดูแลช่วยเหลือของ กยต.คงต้องทำไปพร้อมๆกันหลายๆ เรื่อง แต่ถ้ามองในแง่กลุ่มเป้าหมายนั้น กลุ่มเด็กและกลุ่มสตรีหม้ายก็ยังเป็นคนสองกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะเรื่องเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา ต้องทำให้เด็กได้รับการศึกษาให้มากที่สุด ส่วนสตรีหม้ายก็ต้องเสริมพลังให้สามารถกลับมาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งต้องดูแลทั้งจิตใจและเรื่องการดำรงชีวิต” ปลัดวัลลภ กล่าวกับ “ทีมข่าวอิศรา”
อย่างไรก็ดี หากมองในภาพกว้าง สิ่งที่ กยต.ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือการดูแลสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในชุมชน เพราะชุมชนคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กและสตรีหม้าย
“ยุทธศาสตร์ของเราก็คือต้องทำให้หมู่บ้าน ชุมชนดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ต้องเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำงาน เพราะจะเป็นหลังพิงอันแข็งแกร่งให้กับผู้สูญเสียและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด” ปลัดวัลลภ กล่าว
ปลัดกระทรวง พม.ย้ำด้วยว่า ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มอื่นๆ จะถูกทอดทิ้ง เพราะมีหน่วยงานรัฐรับผิดชอบทุกกลุ่ม รวมทั้งครอบครัวของผู้ต้องขังคดีความมั่นคงด้วย เพียงแต่ว่ากลุ่มสตรีหม้ายเป็นกลุ่มเร่งด่วนที่มีคณะทำงานดูแลเป็นการเฉพาะเท่านั้นเอง

กยต.ชง 9 โครงการเชิงรุกปี 2553
จากผลการประชุม กยต.เที่ยวล่าสุด ทำให้ทราบว่า กยต.ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดูแลเสริมพลังให้กับเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเฉพาะในปี 2553 จำนวน 9 โครงการ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,978,700 บาท แยกเป็น
จังหวัดนราธิวาส 1 โครงการ คือโครงการอาชีพเสริมระยะสั้นให้แก่สตรีหม้าย งบประมาณ 1,038,000 บาท
จังหวัดยะลา 6 โครงการ ได้แก่ โครงการเวทีประชาคม “ทางออก บอกจากใจ” โครงการกีฬาสานสัมพันธ์หัวอกเดียวกัน โครงการสร้างน้องให้เป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม โครงการค่ายทักษะความคิดเพื่อเด็กกำพร้า โครงการต้นกล้าพาแม่สู่ฝัน โครงการส่งเสริมอาชีพแก่สตรีหม้ายผู้ได้รับผลกระทบ รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,703,300 บาท
จังหวัดปัตตานี 1 โครงการ คือโครงการการซับน้ำตาเสริมพลังใจสู่ครอบครัวเข้มแข็ง ใช้งบประมาณ 683,500 บาท
จังหวัดสงขลา 1 โครงการเช่นกัน คือ โครงการครอบครัวเดียวกัน ใช้งบประมาณ 553,500 บาท

ระวังแก๊งหาประโยชน์จากคราบน้ำตา
แม้จะมีโครงการเยียวยาพร้อมงบประมาณลงไปในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง แต่จากมุมมองผู้ได้รับผลกระทบเองยังเห็นว่ามีอีกหลายเรื่องราวที่น่าเป็นห่วงในบริบทของงานเยียวยา
นางยินดี แซ่เหง่า สตรีผู้สูญเสียจาก จ.ยะลา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มแม่บ้านในพื้นที่ กล่าว่า ที่ผ่านมาโครงการต่างๆ ของ กยต.เป็นโครงการที่ดี แต่ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร และแม้จะมีหลายปัญหาเกิดจากโครงการและกิจกรรม แต่ผลสะท้อนกลับยังไปไม่ถึง กยต. ทำให้ปัญหายังคงคาราคาซัง
“เท่าที่เคยประสบมาด้วยตัวเอง หลายโครงการมักจะนำกลุ่มพวกเรา ไปรวมกลับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ พอมีการทำงานในพื้นที่ก็ให้กลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบไปทำ สุดท้ายผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ ก็เสียโอกาส ไม่ได้ประโยชน์อะไร จุดสำคัญที่เป็นต้นเหตุของปัญหาคือโครงการต่างๆ เหล่านี้มักจะผ่านมาทางผู้นำในพื้นที่ และผู้นำเหล่านั้นก็นำเอาสิทธิประโยชน์ที่ผู้สูญเสียสมควรจะได้รับ ไปมอบให้กับพวกพ้องและคนใกล้ชิดแทน และอ้างว่าคนเหล่านั้นได้รับผลกระทบ ฉะนั้นจึงอยากให้เปลี่ยนแนวทางการทำงานใหม่ โดยส่งผ่านโครงการและงบประมาณมายังตัวผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเลย”
“ฉันเห็นมาหลายกรณี เอาประโยชน์จากเด็กกำพร้า ไม่รู้ทำกันได้อย่างไร มีคนมาบอกหลายคนแล้ว อยากให้ทาง กยต.มาดูแลเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเป็นราวด้วย จริงๆ ยังมีอีกหลายปัญหาที่กลุ่มสตรีหม้าย จ.ยะลา เผชิญอยู่ และอยากให้ กยต.ลงพื้นที่มาพูดคุยกับพวกเราเอง จะได้ทราบความจริง และปรับกระบวนการทำงาน” นางยินดี กล่าว
ขณะที่ นางประไพ หมะสะอะ หนึ่งในเครือข่ายสตรีผู้สูญเสียจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สะท้อนว่า เมื่อก่อนหลายๆ โครงการสามารถเข้าถึงผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ทำให้หลายคนมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ระยะหลังๆ โครงการต่างๆ เริ่มหายไป ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ทำให้งานเครือข่ายเองก็ห่างๆ กันไปด้วย
นอกจากนั้นยังได้ข่าวไม่ค่อยดีเกี่ยวกับงบประมาณโครงการสร้างงานเร่งด่วน 4,500 บาท ทราบมาว่าจะมีการตัดงบในส่วนนี้ โดยเฉพาะกับกลุ่มสตรีหม้าย ทำให้หลายคนไม่สบายใจ และอยากให้ กยต.เข้ามาตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
“ต้องเข้าใจว่าสตรีหม้ายอีกหลายคนยังไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง แถมต้องแบกภาระดูแลลูกๆ ดูแลครอบครัว รายได้ก็ไม่คงที่ แต่ที่ผ่านมาก็ได้เงินโครงการ 4,500 มาช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน ฉะนั้นหากตัดงบตรงนี้ไป จะทำให้อีกหลายครอบครัวได้รับความเดือดร้อน” หนึ่งในเครือข่ายสตรีผู้สูญเสีย กล่าว

“กลุ่มลูกผู้ก่อการ-ปฏิเสธรัฐ”ยังน่าห่วง
ด้าน แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา หรือ “หมอจอย” ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะ กยต. มองว่า อันที่จริงการให้ความช่วยเหลือเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายทำกันมาอย่างต่อเนื่องและได้รับงบประมาณจากหลายแหล่ง แต่ปัญหาก็คือตอนนี้มีกลุ่มสตรีหม้ายจากเหตุการณ์ความไม่สงบมากถึงเกือบ 2,000 คน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความรวดเร็วและความคลอบคลุมในการให้ความช่วยเหลือ
“หมอลงพื้นที่มาตลอด จึงทราบว่ากลุ่มสตรีหม้ายไม่ได้มีแต่ตัวผู้หญิงคนเดียวที่เดือดร้อน แต่ผู้หญิงในพื้นที่มีลูกค่อนข้างเยอะ แถมยังยากจน เวลาที่จะเจียดให้สำหรับเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการเยียวยาจึงแทบจะไม่มีเลย ฉะนั้นน่าจะมีกระบวนการติดตาม สรุปผลว่ามีกี่คนแล้วที่ได้รับการดูแล และอีกกี่คนที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมมากขึ้น”
จากประสบการณ์ของหมอเพชรดาว ยังพบปัญหากลุ่มผู้สูญเสียที่ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับการเยียวยาด้วย ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้รัฐต้องไม่ละเลยที่จะให้การดูแล
“สิ่งที่ทุกคนต้องการคือการดูแลด้านจิตใจ ที่ผ่านต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลของภาครัฐ ฉะนั้นถึงแม้การทำงานของราชการจะทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ในบางมิติที่สำคัญก็ยังไม่ได้ทำ เช่น บุตรของผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ยังไม่มีโครงการใดที่มุ่งเยียวยาและปลูกฝังสิ่งที่ถูกต้องให้กับพวกเขา หมอไม่อยากให้รัฐมองว่าคนเหล่านี้เป็นครอบครัวของผู้ก่อการ แต่อยากให้มองว่าพวกเขาอีกชีวิตหนึ่งในผืนแผ่นดินไทย”
“ประเด็นนี้ยังเป็นจุดอ่อนของคณะทำงานเกือบทุกคณะ ทำให้งานเยียวยายังไม่ครอบคลุม กรณีที่เห็นชัดๆ ก็คือกลุ่มที่เจ้าหน้าที่สามฝ่าย ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ไม่ให้การรับรองว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบ หรือกลุ่มที่สูญหาย หรือถูกปิดล้อมหมู่บ้าน ที่สำคัญมีกลุ่มที่ปฏิเสธการเยียวยาจากภาครัฐด้วย ซึ่งเราต้องยอมรับความจริง และถอดสลักของปัญหาให้ได้โดยเร็ว” หมอเพชรดาว กล่าว
ทั้งหมดนั้นคือปัญหาที่ยังปรากฏในบริบทของงานเยียวยาซึ่งทุกฝ่ายไม่ควรปล่อยให้เกิดปมแสวงประโยชน์จากคราบน้ำตา หรือความรู้สึก “สองมาตรฐาน” อีกต่อไป

อ่านต่อ...

วันพุธ, สิงหาคม 04, 2553

ปะทะกันมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ

พ.ต.อ.ชัชชัย วงศ์สุนะ ผกก.สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี รับแจ้งว่ามีการยิงปะทะกันมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บบนถนนสาย 42 ปัตตานี-หาดใหญ่ ม.2 บ้านปรัง ต.ท่ากำชำ ห่างจุดตรวจร่วมเกาะหม้อแกง ประมาณ 500 เมตร หลังรับแจ้งได้นำกำลังตำรวจ ทหาร พร้อมอาวุธหนักเข้าไปเสริมกำลังช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ที่เกิดเหตุปรากฏว่ายังมีการยิงปะทะกันเป็นระยะ เจ้าหน้าที่จึงได้ปิดเส้นทางขาเข้าและออก ปัตตานี-หาดใหญ่ ทันที เพราะเกรงว่าประชาชนจะได้รับอันตราย

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำรถหุ้มเกราะ วี 150 ติดอาวุธเร่งช่วยเหลือกำลังที่ถูกซุ่มยิง และเมื่อไปถึงพบว่าสถานการณ์สงบลงแล้ว พบตำรวจถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 นาย นอนหมดสติบนถนน จึงรีบลำเลียงส่ง รพ.หนองจิก ทราบชื่อ ส.ต.ท.ฉัตรชัย เขตจำนง อายุ 28 ปี ผบ.หมู่ นปพ.ภ.จ.ปัตตานี ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามเข้าศรีษะ 1 นัดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ส่วน ส.ต.ท.นพรัตน์ สร้อยคำ อายุ 28 ปี สังกัดเดียวกันถูกยิงเข้าลำตัวอาการสาหัส แพทย์ได้ส่งต่อไป รพ.ปัตตานี ในที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะตราโล่ สภาพถูกยิงจนพรุนทั้งคัน และรถ จยย.ตราโล่ 2 คัน ตกข้างทาง

นอกจากนี้พบปลอกกระสุนปืนอาก้าและเอ็ม16 กว่า 40 ปลอกของคนร้ายตกอยู่บริเวณริมถนนในป่าละเมาะ จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน

สอบสวนก่อนเกิดเหตุทราบว่า ขณะที่ทั้ง 2 นาย ขับรถ จยย.ออกลาดตระเวนเส้นทางรับผิดชอบ โดยมีกำลังตำรวจอีก 6 นาย ตามหลัง แบ่งเป็นรถ จยย.ขับ 1 นาย และอีก 5 นาย ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ และระหว่างลาดตระเวนมาถึงที่เกิดเหตุ ได้มีคนร้ายไม่ต่ำกว่า 3 คน มีอาวุธสงครามครบมือยิงถล่มใส่ทันทีจนเกิดเสียงดังสนั่น

ปรากฏว่ากระสุนถูกทั้ง 2 นายจนล้มกองกับพื้น ส่วนกำลังที่เหลือได้หักหลบลงข้างทางแล้วใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้จนเกิดการยิงปะทะกันขึ้นประมาณ 10 นาที จนคนร้ายล่าถอยหนีเข้าไปในป่า

หลังเกิดเหตุ พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก. พร้อมด้วย พท. สิทธิศักดิ์ เจนบรรจง ผบ.ฉก.ปัตตานี 24 ได้นำกำลังเข้าไปปิดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุและไล่ล่ากลุ่มคนร้ายทันที เชื่อยังคงกบดานในพื้นที่ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่เชื่อเป็นการตอบโต้ของกลุ่มก่อความไม่สงบหลังถูกกดดันอย่างหนักจนแนวร่วมหลายรายถูกจับกุมและวิสามัญไปก่อนหน้านี้

อ่านต่อ...

วันเสาร์, กรกฎาคม 31, 2553

ตำรวจ-ทหาร บุกค้นบ้านครูสอนศาสนายะลา ยึดถังดับเพลิง อ้างคนร้ายเตรียมก่อเหตุ

จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 11 ยะลา พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรตำบลลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา ได้ตรวจค้นบริเวณบ้านพักของ นายอุเซ็ง เปาะเฮง อายุ 39 ปี เป็นครูสอนศาสนาอยู่ที่โรงเรียนประทีปวิทยา อยู่บ้านเลขที่ 41 ม.4 ต.ลิดล อ.เมือง จ.ยะลา และมีบ้านพักอยู่ห่างจากโรงเรียนประทีปวิทยาประมาณ 40 เมตร โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นพบเพียงถังเคมีดับเพลิงจำนวน 6 ถัง ที่บริเวณหน้าบ้านพักของนายอุเซ็ง ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวอ้างว่า กลุ่มคนร้ายน่าจะเตรียมนำถังดับเพลิงดังกล่าวไปประกอบเป็นวัตถุระเบิด เพื่อนำมาก่อเหตุในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ส่วนนายอุเซ็ง เปาะเฮง ได้ปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับถังดับเพลิงดังกล่าว และให้การว่าถังดับเพลิงเหล่านี้น่าจะเป็นของกลุ่มคนร้ายที่ขโมยมาทิ้งไว้เท่านั้น

ด้านหน่วยข่าวด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้แล้ว ว่า มีรายงานข่าวว่ากลุ่มก่อเหตุรุนแรงมีแผนที่เตรียมจะก่อเหตุในช่วงก่อนเดือน รอมฏอนตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 53 ดังนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ อ.เมือง และ อ.บันนังสตา เนื่องจากในพื้นที่ อ.บันนังสตา กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเพิ่งสูญเสียแกนนำระดับปฎิบัติการไป 2 ราย จึงเชื่อว่าจะมีปฎิบัติการตอบโต้จากกลุ่มคนร้ายในพื้นที่ จึงขอให้กำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง พร้อมด้วยกำลังภาคประชาชนในพื้นที่ ได้เพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น

อ่านต่อ...

วันพุธ, กรกฎาคม 21, 2553

ลอบยิง ลอบบึ้ม ผู้การยะลาเตือนแผนลวงฆ่า มาร์คเตรียมปรับแผนรับมือ

ลอบยิงชาวบ้านที่ปัตตานี
เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสภาพศพ นายอับดุล ลอมันแว บริเวณถนนสายโคกโพธิ์ หมู่ 1 ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หลังถูกผู้ก่อเหตุใช้ปืน เอ็ม16 กราดยิงจนเสียชีวิต ขณะขี่รถจักรยานยนต์กลับจากดื่มน้ำชาภายในหมู่บ้านเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (21 ก.ค.)
ตำรวจสันนิษฐานเบื้องต้น เชื่อว่า สาเหตุเกิดจากการสร้างสถานการณ์รายวัน เนื่องจากผู้ก่อเหตุใช้อาวุธสงคราม
โจรใต้บึ้มทหารนราฯหวิดดับ
เมื่อเวลา 08.30น.วันที่ 20 กรกฎาคม ร.ต.ท.อุกฤษฎ์ สังฆะมณี ร้อยเวรสอบสวน สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รับแจ้งเหตุคนร้ายกดระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร ชุด รปภ.ครู สังกัด ร้อย ร.1021 ฉก.นราธิวาส30 เหตุเกิดข้างโรงสีร้าง ในพื้นที่ ม.3 ต.สามัคคี อ.รือเสาะ จึงรีบไปตรวจสอบ ปรากฎว่าบริเวณตอไม้ในกองฟางข้างโรงสีร้าง มีหลุมระเบิดและเศษระเบิดกระจัดกระจาย เหตุเกิดขณะทหารชุด รปภ.ครู 4 นายและลูกจ้างภาครัฐอีก 2คน ขี่รถจักรยานยนต์ 3คัน ออกจากฐานเพื่อตรวจเส้นทางและดูแลความปลอดภัยให้ครูโรงเรียนบ้านสามัคคีและครูโรงเรียนบ้านสุวารี ที่เดินทางไปสอนหนังสือตามปกติ ระหว่างยืนบล็อกเส้นทาง คนร้ายที่แฝงตัวอยู่ได้จุดชนวนระเบิดที่ซ่อนไว้ในกองฟาง จนเกิดระเบิดเสียงดังสนั่นโชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากรัศมีระเบิดพุ่งเข้าป่ารกทึบข้างทาง ทำให้ทหารและลูกจ้างรอดตายหวุดหวิด

โจรใต้วางระเบิดทหารทำรถหุ้มเกราะเสียหาย
พ.ต.ท.ปกป้อง ท่อแก้ว สว.เวร สภ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.นราธิวาส 31 ริมถนนจารุเสถียรสายเจาะไอร้อง-นราธิวาส ช่วงบริเวณบ้านบาโงดุดุง ม.6 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง ที่เกิดเหตุ พบเสาปูนซิเมนต์กันทางโค้งถูกอนุภาพระเบิดจนหัก และมีหลุมลึก 20 ซ.ม. กว้าง 50 ซ.ม. รวมทั้งเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในถังแก๊สปิกนิก หนัก 15 ก.ก.จุดชนวนด้วยมือถือตกกระจายเกลื่อนถนนและพงหญ้ารกทึบริมทาง เจ้าหน้าที่จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน
จากการสอบสวน พ.ท.ยุทธนา สายประเสริฐ ผบ.ฉก.นราธิวาส 31 ทราบว่า ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารในสังกัด จำนวน 10 นาย นั่งรถยนต์กระบะหุ้มเกราะตามกันมาจากตัวเมืองนราธิวาส เพื่อเดินทางกลับฐานนั้น เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุได้มีคนร้ายแฝงตัวอยู่ในละแวกจุดเกิดเหตุ ได้ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องที่แอบลักลอบนำไปไว้ในกระสอบปุ๋ย แล้วนำมาพิงไว้กับโคกเสาปูนซิเมนต์กันทางโค้ง จนเกิดระเบิดขึ้นขณะที่รถยนต์หุ้มเกราะของทหารขับผ่าน แต่รัศมีการทำลายล้างได้หักเหเข้าไปในป่า จึงทำให้ทหารรอดตายไปได้อย่างหวุดหวิด มีเพียงตัวถังรถด้านซ้าย ถูกสะเก็ดระเบิดได้รับความเสียหายไปเล็กน้อย

บึ้มโก-ลก ทหาร-ชาวบ้านเจ็บ 9 ยะลาลอบวางระเบิด "ด.ต." สาหัส
เมื่อเวลา 17.10 น. วันที่ 19 กรกฎาคม ขณะที่กำลังทหาร ฉก.นราธิวาส 36 และ อส.ประจำ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ตั้งด่านตรวจบนถนนสาย อ.สุไหงโก-ลก-อ.สุไหงปาดี บริเวณศาลาที่พักผู้โดยสาร สามแยกบาบูเบเกอรี่ เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก คนร้ายได้กดโทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องชนิดแอมโมเนียไนเตรต บรรจุในกล่องเหล็ก น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ที่นำมาซุกไว้ในพงหญ้าริมถนน แรงระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จำนวน 9 คน แยกเป็นทหาร 3 นาย คือ ส.ท.วสันต์ ชุมพล อายุ 22 ปี, พลฯ ไพทูรย์ โพธิ์ศรี อายุ 22, พลฯ วิชิต พรหมสาเมฆ อายุ 23 เป็น อส. 3 นาย คือ อส.ไพโรจน์ สะแม อายุ 33 ปี, อส.มนูศักดิ์ อารง อายุ 29 ปี, อส.ซูกิฟลี ดาโอ๊ะ อายุ 26 ปี และเป็นชาวบ้านที่ขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาอีก 3 คน คือ นางต่วนรอดียะห์ ลีมิง อายุ 40 ปี ซึ่งกำลังตั้งครรภ์, ด.ญ.ไซบะ มูละ อายุ 15 ปี และนายมนัส แก้วอำพร อายุ 40 ปี

ก่อนหน้านี้ เวลา 14.00 น. พ.ต.อ.เฉลิมเกียรติ อมรากระสินธุ์ ผกก.สภ.ธารโต จ.ยะลา ตรวจสอบที่โรงพยาบาลธารโต หลังรับแจ้งมีผู้บาดเจ็บเหยียบระเบิดอาการสาหัสเข้ารักษาตัว พบ ด.ต.นิยม สุวรรณมณี ตำรวจชุดสืบสวนสอบสวน สภ.ธารโต ได้รับบาดเจ็บบริเวณขาซ้ายเป็นแผลฉกรรจ์เกือบขาด ตามร่างกายยังได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดหลายแห่ง ต่อมาแพทย์ส่งตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เบื้องต้นทราบว่าขณะ ดต.นิยมไปตรวจสอบสวนยางพาราตนเองที่บ้านผ่านศึก หมู่ 2 ต.คีรี เขต อ.ธารโต ได้เหยียบกับระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ เชื่อเป็นฝีมือคนร้ายกลุ่มเดียวกับที่สร้างสถานการณ์ในพื้นที่

ส่วนที่ จ.ปัตตานี ขณะที่นายสัมพันธ์ ลำภา อายุ 46 ปี ชาวสมุทรสงคราม อาชีพเป็นโฟร์แมน บริษัท เจนเนอรัล เอนจีเนียริ่ง จำกัด รับเหมาก่อสร้างกองพันพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรที่ 1 กรมพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรที่ 3 อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ขับรถยนต์โตโยต้า สีขาว ทะเบียน รจ 6500 กรุงเทพมหานคร ไปบรรทุกน้ำมันในตัวเมืองปัตตานี ใช้เส้นทางภายในหมู่บ้านสาย บ้านบ่อทอง-ยะรัง เมื่อถึงบริเวณตลาดนัดกาแลกุโบ หมู่ 2 ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก ถูก 2 คนร้ายยืนอยู่ริมถนนใช้อาวุธปืนยิงใส่ กระสุนทะลุกระจกด้านข้างรถยนต์เฉียดบริเวณแก้มด้านขวา จึงขับรถยนต์หลบหนีไปที่บริเวณก่อสร้างและให้เพื่อนช่วยนำตัวส่งโรงพยาบาลหนองจิก

ทน.ยะลาทุ่มงบ10ล้าน ติดวงจรปิดกันเหตุร้าย
ยะลา:นายสถาพร กาญจนบุษย์ รองนายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า เทศบาลนคร(ทน.)ยะลา ได้ดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือ CCTV ในเขตเทศบาลนครยะลาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 297 ตัว ซึ่งมีตั้งแต่กล้องที่สามารถหมุนได้ 360 องศา และกล้องอยู่กับที่ สามารถซูมได้ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการติดตั้งกล้องชุดใหม่ในพื้นที่ตลาดสดรถไฟ หรือ ตลาดพิมลชัย เนื่องจากที่ผ่านมาได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งประชาชนได้เรียกร้องให้มีการติดตั้งกล้องในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากในแต่ละวันได้มีประชาชนมาจับจ่ายซื้อของเป็นจำนวนมาก


โดย ทน.ยะลา ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จำนวน 5 ล้านบาท และเงินสมทบจากทางการรถไฟอีกจำนวน 5 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั้งหมด โดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบตลาดสดรถไฟ ซึ่งเมื่อรวมกับของเดิมแล้ว ทน.ยะลา จะมีกล้องวงจรปิดรอบเขตเทศบาลนครยะลาทั้งสิ้น 330 ตัว

ผู้การยะลาเตือนแผนลวงฆ่า มาร์คเตรียมปรับแผนรับมือ
ด้าน พล.ต.ต.สายัณห์ กระแสแสน ผบก.ภ.จ.ยะลา มีวิทยุด่วนที่สุดถึงสถานีตำรวจภูธรทั้ง 8 แห่งในจ.ยะลา ว่า ขณะนี้กลุ่มคนร้ายหันมาก่อเหตุลอบวางระเบิดและซุ่มยิง เจ้าหน้าที่และ ประชาชนโดยมีกลลวง คือเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ก็จะวางระเบิดดักซ้ำซ้อนในที่เกิดเหตุ หรือซุ่มยิงระหว่างเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าตรวจที่เกิดเหตุ

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังประชุม ครม.ถึงนโยบายแก้เหตุรุนแรงในภาคใต้ที่เคยระบุจะปรับวิธีทำงานให้เป็นเอกภาพมากขึ้น ว่า ตอนนี้ได้รวบรวมประเด็นอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายประเด็นที่แต่ละฝ่ายเสนอมาและกำลังจะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช.เป็นผู้นัด

อ่านต่อ...

วันจันทร์, กรกฎาคม 05, 2553

Wanita dan Dua Anak Digranat Dalam Masjid di Pattani

Wanita dan Dua Anak Digranat Dalam Masjid di Pattani Kecederaan Anak-anak yang tidak berdosa
Seorang wanita dan dua anak lelakinya mengalami luka-luka namun dilaporkan tidak meninggal saat sebuah granat dilemparkan dan meledak di dalam masjid di distrik Sai Buri, Pattani, Thailand Selatan. Eskalasi kekerasan di provinsi paling bergolak di Thailand itu makin meningkat pekan-pekan belakangan ini.

Aranya Tokayor, 43 tahun dan dua anaknya, Romsu Aming, 9 tahun dan Amran Kwaeng, 9 tahun, mengalami luka bakar di sekujur tubuhnya. Saat granat meledak di Masjid Nurul Lamuttakin Tabing, ketiganya tengah duduk menunggu waktu shalat subuh. Kini ketiganya dirawat di RS Crown Price Sai Buri.

Penyelidik polisi menyatakan, pelaku peledakan adalah dua pria yang melemparkan granat dari atas sepeda motor. Granat masuk ke dalam masjid dan meledak. Polisi masih meneliti jenis granat yang diledakkan untuk mencari petunjuk ke arah pelaku.

Di distrik Muang di Yala, provinsi tetangga Pattani, sekitar 500 warga diserang sekelompok orang saat melakukan doa bersama. Saat itu, warga dari komunitas lintas agama Budha, Islam, dan Kunghucu tengah mengadakan doa damai badi korban yang meninggal dalam serangan sebelumnya. Sebanyak 33 biksu dan 21 ulama mengalami luka-luka dan dilarikan ke rumah sakit. Dua orang Kecederaan Anak-anak yang tidak berdosa

อ่านต่อ...

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 04, 2553

โจรใต้บึ้มทหารดับอีก2 ฝีมืออาร์เคเคสะกดรอย

     ทหารพรานชุดเดินเท้าลาดตระเวนเส้นทางในหมู่บ้านที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ถูกลอบวางระเบิดอีกแล้ว คราวนี้ยังคงเล่นของหนักใช้ระเบิดหนัก 15 กก.ส่งผลให้อส.ทพ.สงคราม ดำรงรักษ์ ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะและใบหน้าหลายแห่ง รวมถึง อส.ทพ.สุริยัน เกตุขาว ถูกสะเก็ดระเบิดที่สะโพกหลายแห่งและขาด้านขวาขาด ทนพิษบาดแผลไม่ไหวได้เสียชีวิต วันที่ 4 ก.ค. เวลา 16.15 น. พ.ต.ท.วิชัย แจ้งสกุล รอง ผกก.สส.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทหารพรานได้รับบาดเจ็บสาหัส จำนวน 4 นาย ที่บ้านตารอยต่อระหว่าง หมู่ที่ 8 กับ หมู่ที่ 4 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา หลังได้รับแจ้งจึงรีบเดินทางไปยังบริเวณที่เกิดเหตุพร้อมด้วย พ.ต.อ.สุวัตต วงค์ไพบูลย์ ผกก. จ.อ.ปรเมศวร์ จันทร์แสง ปลัดป้องกันอำเภอบันนังสตา กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฉก.15 อ.บันนังสตา ชุดศรศึก-ศรชัย (EOD-ARMY) และฝ่ายปกครองอีกจำนวนหนึ่ง

      ที่เกิดเหตุอยู่ริมถนนสาย 410 ยะลา-เบตง ระหว่างหลักกิโลเมตร 26-27 พบเลือดเปรอะอยู่บนพื้นข้างทาง ส่วนผู้บาดได้รับบาดเจ็บทราบชื่อภายหลังคือ
1. อส.ทพ.สงคราม ดำรงรักษ์
2. อส.ทพ.สุริยัน เกตุขาว
3. อส.ทพ.สบาย มากเหลือ และ
4. อส.ทพ.สมปอง เกิดสมบัติ
จากการตรวจสอบในที่เกิดเหตุต่อมา พบว่า อยู่ห่างไหล่ทางเข้าไปใต้ร่มไม้ใหญ่ราว 10 เมตร พบหลุมระเบิดลึกประมาณ 50 เซนติเมตร มีสะเก็ดระเบิด และเศษชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่ กระจัดกระจายทั่วทั้งบริเวณ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เก็บไว้เป็นหลักฐาน

      จากการสอบสวนทราบว่า เจ้าหน้าที่ทหารพรานชุดดังกล่าว มี ส.ท.นุซูรัน เจ๊ะสะแม เป็นหัวหน้าชุดนำกำลังทหารจำนวน 8 นายออกจากฐานในหมู่บ้านเดินเท้าลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยเส้นทางสายดังกล่าว ขณะมาถึงที่เกิดเหตุได้แวะพักเหนื่อย ปรากฏว่า จู่ๆ ได้เกิดระเบิดดังขึ้นอย่างกึกก้อง แรงระเบิดทำให้อาสาสมัครทหารพรานทั้ง 4 นาย ที่อยู่ใกล้ที่สุดกระเด็นไปคนละทาง ทำให้อส.ทพ.สงคราม ดำรงรักษ์ ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะและใบหน้าหลายแห่ง รวมถึง อส.ทพ.สุริยัน เกตุขาว ถูกสะเก็ดระเบิดที่สะโพกหลายแห่งและขาด้านขวาขาด ทนพิษบาดแผลไม่ไหวได้เสียชีวิต

     เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่า คนร้ายเป็นแนวร่วมอาร์เคเค (RKK) ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่แอบสังเกตพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ทหารพรานชุดนี้ออกลาดตระเวน และมักจะมาพักเหนื่อยอยู่ในบริเวณนั้นเป็นประจำ จึงได้นำระเบิดแสวงเครื่องอัดถังแก๊สปิกนิกหนักไม่ต่ำกว่า 15 กก.มาฝังไว้จุดชนวนให้ระเบิดขณะกำลังทหารพรานเข้ามาพักเหนื่อย จนทำให้มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 2 นายและได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 นายดังกล่าว
     ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุไม่สงบในชายแดนภาคใต้ที่มีความรุนแรงต่อเนื่อง ว่า ตนได้คุยกับคนทำงานหลายภาคส่วนเข้าใจว่า จะมีการปรับแนวทำงานบางเรื่องกันอยู่ แต่ภาพรวมของนโยบายด้านการพัฒนานั้น เป็นไปได้ด้วยดี ตอนนี้เป็นปัญหาเรื่องการบูรณาการทำงานฝ่ายความมั่นคงยังมีปัญหาอยู่ คือ เรื่องข้อมูลที่ได้มาจากแต่ละเหตุการณ์ที่ไม่เชื่อมโยงกัน หากมีการบูรณาการจะมีประสิทธิภาพกว่านี้และเชื่อโยงไปสู่แนวทางป้องกัน รวมทั้งจับกุมผู้เกี่ยวข้องได้มากกว่านี้

อ่านต่อ...

วันศุกร์, กรกฎาคม 02, 2553

2 วัน ดับ 8

สุดสลด! ลอบบึ้ม 3 ทหารที่ถูกส่งไปช่วยทำระบบประปาหมู่บ้านที่ยะลา
ยะลา – โจรใต้ลอบวางระเบิดรถยนต์ทหารที่ผู้บังคับบัญชาส่งไปช่วยชาวบ้านสร้างระบบน้ำประปาหมู่บ้าน อ.ยะหา จ.ยะลา ส่งผลให้มีทหารเสียชีวิตทันที 3 นาย สภาพศพแหลกเละไม่เป็นชิ้นดี เชื่อเป็นแนวร่วมที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการสร้างสถาการณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ยะลา ว่า วันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 13.40 น. พ.ต.อ.สวัสดิ์ เตียวิรัตน์ ผกก.สภ.ยะหา จ.ยะลา ได้รับแจ้งเกิดเหตุระเบิดรถยนต์เจ้าหน้าที่ทหาร มีทหารเสียชีวิตจำนวน 3 นาย เหตุเกิดบนถนนทางเข้าวัดปูแหล บ้านบาโย หมู่ที่ 8 ต.บาโระ อ.ยะหา จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ จากนั้นจึงพร้อม พล.ต.ต.สายัณห์ กระแสแสน ผบก.ภ.จ.ยะลา พ.ต.ท.ประสม เกื้อหนุน สวป.พ.ต.ท.อัครโยธิน บุญวิโรจน์ สว.สส.สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.ยะลา 14 นำกำลังเข้าตรวจสอบพื้นที่
ในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ถนนในหมู่บ้าน ห่างจากถนนสาย 4077 เส้นทางยะหา-บันนังสตา เข้าไปในหมู่บ้านราว 1,500 เมตร เลยสามแยกทางเข้าวัดสวนแก้วราว 100 เมตร พบซากรถปิกอัพ ยี่ห้อมิตซูบิชิ 4 ประตู รุ่นไซโคลน สีบรอนซ์ทอง แผ่นป้ายทะเบียน ม 0514 ปัตตานี สภาพรถยนต์พังยับเยินเป็นเศษเหล็ก หงายท้องอยู่บนเนินข้างทาง ไม่สามารถนำรถยนต์คันดังกล่าวกลับมาใช้ได้
ห่างกันเล็กน้อยริมป่าสวนยางพารา เจ้าหน้าที่ตำรวจพบศพเจ้าหน้าที่ทหารในสภาพศพเละ อวัยวะแขนขากระจัดกระจายไปทั่ว จำนวน 3 นาย ทราบชื่อคือ ส.อ.วีระวุฒิ หวังกลิ่น อายุ 25 ปี ส.ท.วีระชาติ บุญเกื้อ อายุ 25 ปี และ พลทหาร กามารูดิง ตูวี อายุ 22 ปี ทั้งหมดสังกัด ร.15 พัน 1 อ.คลองท่อม จ.กระบี่ เจ้าหน้าที่กู้ภัยร่วมกันเก็บชิ้นส่วนร่างกายผู้เสียชีวิตนำส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา เพื่อดำเนินการต่อไป

ห่างจากรถไปราว 5 เมตร พบหลุมระเบิดอยู่กึ่งกลางถนนดิน ลึกและกว้างราว 1 เมตร พบสายไฟฟ้าลากยาวเข้าไปในสวนยางพาราร่วม 100 เมตร ชิ้นส่วนเศษถังแก๊สปิกนิก สีฟ้า เศษแบตเตอรี่ สะเก็ดระเบิดกระจายเป็นวงกว้าง จึงได้เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทหารทั้ง 3 นาย ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปช่วยต่อเดินท่อประปาเข้าไปในหมู่บ้าน ขณะที่ขับรถยนต์ปิกอัพคันดังกล่าวเดินทางออกจากฐานในวัดสวนแก้ว มาถึงจุดเกิดเหตุประมาณ 300 เมตร คนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวนที่แอบนำระเบิดแสวงเครื่องมาฝังไว้กลางถนนได้จุดชนวนกับแบตเตอรี่ จนเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เสียงระเบิดดังไปถึงตลาดยะหาที่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร

โดยแรงระเบิดทำให้รถยนต์ปิกอัพพลิกขึ้นหงายท้อง กระเด็นไปค้างบนเนินดินข้างทาง ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในรถทั้งจำนวน 3 นาย ร่างแหลกกระจัดกระจายออกจากตัวรถไปเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนกลุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ คาดว่า เป็นแนวร่วมที่แฝงตัวอยู่ในหมู่บ้านพยายามก่อเหตุ เพื่อสร้างสถานการณ์

โจรใต้บึ้ม-ยิง ดับ 5 อส.-ชรบ.
โจรใต้ฆ่า 5 ศพ จุดชนวนระเบิดวางบึ้มรถทหารพราน-ชรบ.-ผู้ใหญ่บ้าน อ.รือเสาะ ขณะเข้าไปหาข่าวก่อนจะปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ เผยปะทะเดือดหลังกดชนวนระเบิด สุดท้ายฝ่ายเจ้าหน้าที่ถูกยิงตายทั้งหมดในที่เกิดเหตุ ผบก.นราธิวาสสั่งดูแลเข้มสถานที่ราชการ-ตรวจค้นบุคคลแปลกหน้าละเอียดยิบ

เมื่อเวลา 18.45 น. วันที่ 1 ก.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ จ.นรา ธิวาส ได้รับแจ้งเหตุเกิดระเบิดขึ้นในพื้นที่หมู่ 3 บ้านบอมิ ต.นาดา อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังเกิดระเบิดขึ้นมีการปะทะยิงสู้กันระหว่างกลุ่มคนร้ายกับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง หลังเสียงปืนสงบ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่รือเสาะสนธิกำลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบเจ้าหน้าที่ทหารพรานที่ 45 ชุดพัฒนาสันติ เสียชีวิต 5 นาย

พล.ต.ต.ชัยทัต อินทนูจิตร ผบก.ภ.นราธิวาส เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดรวม 5 นาย ได้เดินทางเข้าที่เกิดเหตุโดยรถยนต์เพื่อเข้าไปหาข่าว ก่อนที่จะนำกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ในวันที่ 2 ก.ค. แต่เมื่อขับรถยนต์ผ่านจุดเกิดเหตุ คนร้ายได้จุดชนวนระเบิดขึ้นและได้ใช้อาวุธสงครามยิงซ้ำจนทำให้เจ้าหน้าที่ทั้ง 5 นาย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดเหตุขึ้น ผู้บังคับการตำรวจภูธรนราธิวาสได้กำชับให้กองกำลังในพื้นที่เพิ่มความเข้มงวด ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงสนธิกำลังปิดล้อมพื้นที่เพื่อตรวจสอบบุคคลต้องสงสัยอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่คาดคนร้ายน่าจะยังกบดานในพื้นที่ดังกล่าว

สำหรับรายละเอียดของเหตุการณ์ครั้งนี้ เกิดเมื่อเวลา 18.50 น. ร.ต.อ.ไพรัช เกียรติเจริญศิริ ร้อยเวร สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รับแจ้งเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหารพรานชุดพัฒนาสันติ ที่ 3015 กรมทหารพรานที่ 45 เสียชีวิต บนถนนในหมู่บ้านบอมิ ม.7 ต.รือเสาะ จึงพร้อมด้วย พ.ต.อ.สามารถ วิชัยขัทคะ ผกก.สภ.รือเสาะ พ.อ.ไพศาล หนูสังข์ ผบ.กรมทหารพรานที่ 45 นายจำลอง ไกรดิษฐ์ นายอำเภอรือเสาะ และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารฝ่ายปกครองจำนวนหนึ่ง รุดเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ สีขาว ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน อยู่ในสภาพพังยับเยิน และมีศพผู้เสียชีวิตนอนอยู่ภายในห้องโดยสารและบนถนน ซึ่งอยู่ห่างจากหลุมระเบิด ลึก 2 ฟุต กว้าง 3 เมตร จำนวน 5 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิต ถูกสะเก็ดระเบิดจนร่าง กายแหลกเหลว ประกอบด้วย 1.จ.ส.อ.เกียรติชัย แย้มทัพ อายุ 46 ปี 2.อส.ทพ.ภาสกร ซุ่มประการ อายุ 30 ปี 3.อส.ทพ.การิม แก้วสลัม อายุ 22 ปี 4.นายอับดุลรอแม แวกะจิ อายุ 38 ปี ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสโลว์ และ 5. นาย รุสมัน มะมิง อายุ 28 ปี ซึ่งเป็นชรบ.บ้านสโลว์

จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ จ.ส.อ.เกียรติชัย หัวหน้าชุดได้นำกำลังรวม 3 นาย ชวนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและชรบ.อีก 2 คน นั่งรถยนต์กระบะ เพื่อเข้าไปสังเกตการณ์กลุ่มผู้ไม่หวังดีที่แฝงตัวเคลื่อนไหวภายในหมู่บ้านจุดเกิดเหตุ และระหว่างที่ จ.ส.อ.เกียตรชัยและพวกนั่งรถยนต์อยู่นั้น ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนแฝงตัวอยู่ในป่ารกทึบริมทาง ได้ใช้แบตเตอรี่จุดชนวนระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบใส่ไว้ในถังดับเพลิง หนัก 20 ก.ก.แล้วนำไปฝังไว้กลางถนน จนเกิดระเบิดขึ้นขณะขับรถยนต์ผ่าน จนรถยนต์ได้กระเด็นพลิกคว่ำ แล้วคนร้ายที่แฝงตัวอยู่ได้ใช้อาวุธปืนสงครามยิงถล่มใส่จ.ส.อ.เกียรติชัยและพวก จบชีวิตทั้งหมด แล้วคนร้ายได้วิ่งออกจากป่าหยิบอาวุธปืนเอชเค ของเจ้าหน้าที่หลบหนีไปด้วย 4 กระบอก ล่าสุด พ.อ.ไพศาล หนูสังข์ ผบ.กรมทหารพรานที่ 45 ได้ระดม กำลัง จำนวน 30 นาย ออกติดตามไล่ล่ากลุ่มคนร้ายไปอย่างกระชั้นชิดแล้ว

อ่านต่อ...

วันพุธ, มิถุนายน 30, 2553

ยอดผู้เสียชีวิตไฟใต้ทะลุ 4,000 ราย!

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนจากค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 พุ่งทะลุ 4,000 รายแล้ว เมื่อนับถึงสิ้นเดือน เม.ย.2553 ขณะที่สถานการณ์ในเดือน พ.ค.สะท้อนแนวโน้มความรุนแรงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ความไม่สงบในรอบเดือน เม.ย.2553 มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา รวม 68 เหตุการณ์ มีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รวมทั้งสิ้น 203 ราย แยกเป็นเสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 174 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อต้นปี 2547 จนถึงปัจจุปันรวมทั้งสิ้น 4,006 ราย

เหตุรุนแรงในรอบเดือน เม.ย. 69 เหตุการณ์ แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้
ปัตตานี 24 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเมือง 5 เหตุการณ์ อ.โคกโพธิ์ และ อ.ยะรัง อำเภอละ 4 เหตุการณ์ อ.มายอ 3 เหตุการณ์ อ.สายบุรี และ อ.หนองจิก อำเภอละ 2 เหตุการณ์ อ.ยะหริ่ง อ.ไม้แก่น อ.แม่ลาน และ อ.กะพ้อ อำเภอละ 1 เหตุการณ์
ยะลา 11 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ธารโต 5 เหตุการณ์ อ.รามัน 3 เหตุการณ์ อำเภอเมือง 2 เหตุการณ์ อ.บันนังสตา 1 เหตุการณ์
นราธิวาส 33 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.บาเจาะ 9 เหตุการณ์ อ.ระแงะ 7 เหตุการณ์ อ.รือเสาะ อ.เจาะไอร้อง และ อ.จะแนะ อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อำเภอเมือง อ.ยี่งอ และ อ.ศรีสาคร อำเภอละ 2 เหตุการณ์ อ.แว้ง กับ อ.ตากใบ อำเภอละ 1 เหตุการณ์
หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์และพื้นที่เกิดเหตุ สามารถแบ่งได้ดังนี้
ลอบยิงรายวัน 53 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 20 เหตุการณ์ ยะลา 6 เหตุการณ์ นราธิวาส 27 เหตุการณ์
ลอบวางระเบิด 15 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 4 เหตุการณ์ ยะลา 5 เหตุการณ์ นราธิวาส 6 เหตุการณ์
ด้านเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 203 ราย แบ่งเป็นเสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 174 ราย แยกตามจังหวัด กลุ่ม และอาการของเหยื่อความรุนแรงได้ดังนี้
ปัตตานี 102 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 63 ราย ประชาชนเสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 24 ราย
ยะลา 43 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 17 ราย ประชาชนบาดเจ็บ 26 ราย
นราธิวาส 58 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 21 ราย ประชาชนเสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 23 ราย
พ.ค.ป่วนหนักกว่าเก่า
เหตุการณ์ความไม่สงบในรอบเดือน พ.ค.2553 เกิดเหตุรุนแรงทั้งสิ้น 71 เหตุการณ์ มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ 151 ราย แยกเป็นผู้เสียชีวิต 35 ราย บาดเจ็บ 116 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อต้นปี 2547 จนถึงสิ้นเดือน พ.ค.รวมทั้งสิ้น 4,041 ราย
ทั้งนี้ เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือน พ.ค.ทั้งหมด 71 เหตุการณ์ แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้
ปัตตานี 22 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ยะรัง 7 เหตุการณ์ อ.หนองจิก อ.สายบุรี และ อ.โคกโพธิ์ อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.กะพ้อ อ.ทุ่งยางแดง อ.ปะนาเระ อ.ยะหริ่ง และ อำเภอเมือง อำเภอละ 1 เหตุการณ์
ยะลา 21 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.บันนังสตา และ อำเภอเมือง อำเภอละ 7 เหตุการณ์ อ.ธารโต และ อ.ยะหา อำเภอละ 2 เหตุการณ์ อ.รามัน อ.กรงปินัง และ อ.เบตง อำเภอละ 1 เหตุการณ์
นราธิวาส 28 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ระแงะ 7 เหตุการณ์ อ.รือเสาะ 6 เหตุการณ์ อ.ศรีสาคร 3 เหตุการณ์ อำเภอเมือง อ.บาเจาะ และ อ.เจาะไอร้อง อำเภอละ 2 เหตุการณ์ อ.ยี่งอ อ.สุไหงปาดี อ.สุไหงโก-ลก อ.แว้ง อ.สุคิริน และ อ.จะแนะ อำเภอละ 1 เหตุการณ์
จากสถานการณ์ในภาพรวม หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์และพื้นที่เกิดเหตุ สามารถแบ่งได้ดังนี้
ลอบยิงรายวัน 53 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 18 เหตุการณ์ ยะลา 12 เหตุการณ์ นราธิวาส 23 เหตุการณ์
ลอบวางระเบิด 18 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 4 เหตุการณ์ ยะลา 9 เหตุการณ์ นราธิวาส 5 เหตุการณ์
ด้านเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบทั้งเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 151 รายนั้น แบ่งเป็นเสียชีวิต 35 ราย บาดเจ็บ 116 ราย แยกตามจังหวัด กลุ่ม และอาการของเหยื่อความรุนแรงได้ดังนี้
ปัตตานี 29 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 7 ราย ประชาชนเสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 9 ราย
ยะลา 78 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 16 ราย ประชาชนเสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 50 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 ราย
นราธิวาส 44 ราย เป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บ 22 ราย ประชาชนเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 12 ราย ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 1 ราย

อ่านต่อ...

วันอังคาร, มิถุนายน 29, 2553

เอ็นจีโอจี้ปิด"ศูนย์ซักถาม"ค่ายอิงคยุทธฯ ทหารโวยให้ตรวจสอบองค์กรสิทธิ์บ้าง!

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ได้ออกแถลงการณ์เนื่องในวันต่อต้านการทรมานสากล 26 มิ.ย.2553 เรียกร้องให้ปิดศูนย์ซักถามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี โดยอ้างว่ามีการทรมานผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพและขังเดี่ยว อันถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

แถลงการณ์ของทั้งสองมูลนิธิดังกล่าว ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและช่วยเหลือทางกฎหมายให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและกองทัพบก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 ข้อคือ
ส่

1.ขอให้ปิดศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ (ศูนย์ซักถาม) ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ด้วยเหตุว่าต้องสงสัยว่ามีผู้ทรมานผู้ต้องสงสัยให้สารภาพ และมีสภาพเป็นการขังเดี่ยวผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ได้รับการตัดสินว่ากระทำความผิด ซึ่งเป็นทรมานและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ขัดต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี และขัดต่อรัฐธรรมนูญ

2.ขอให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติต่อผู้ถูกเชิญตัวหรือผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการทรมานหรือปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมต่อผู้ถูกเชิญตัวหรือผู้ต้องสงสัยโดยเด็ดขาด

3.หากพบว่ามีการกระทำความผิดตามที่มีเรื่องร้องเรียนจริง ทางรัฐบาลและกองทัพต้องดำเนินการลงโทษทางวินัยและทางอาญาเพื่อเป็นการป้องปรามและยุติการซ้อมทรมานซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง ขัดต่อกฎหมายในประเทศและขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ที่ผ่านมาการเรียกร้องและร้องเรียนของผู้เสียหายมักไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ เหยื่อและญาติมักถูกคุกคามและหวาดกลัวอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ หลายกรณียุติการร้องเรียนและส่งผลให้การซ้อมทรมานเพื่อให้ได้คำสารภาพยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นเงื่อนไขใช้ความรุนแรงต่อต้านการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ

4.จัดให้มีหน่วยงานอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวอย่างเป็นประจำ ทั้งสถานที่ควบคุมตัวตามอำนาจตามกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งการพัฒนาและจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยกรณีการก่อความไม่สงบ เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และห้ามไม่ให้มีการซ้อมทรมานโดยเด็ดขาด

อนึ่ง แถลงการณ์ดังกล่าวซึ่งออกในโอกาสวันต่อต้านการทรมานสากล วันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งประกาศโดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยังอ้างข้อมูลว่า นับตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย.ถึงต้นเดือน พ.ค.2553 องค์กรสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ผู้ถูกควบคุมตัวในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์อย่างน้อย 6 รายว่าถูกจำกัดการเยี่ยมจากญาติอย่างผิดปกติ บางคนได้รับอนุญาตให้ญาติพบหน้าในระยะห่างๆ เพียง 1-2 นาทีเท่านั้น บางรายไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับญาติอย่างเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาตามปกติ

ในช่วงกลางเดือน พ.ค.2553 ญาติร้องเรียนขอให้แพทย์ตรวจร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว 2 ราย โดยสงสัยว่าอาจถูกซ้อมทรมาน เนื่องจากพบเห็นผู้ถูกควบคุมตัวมีสภาพร่างกายอ่อนเพลีย และในวันที่ 30 พ.ค.2553 มีรายงานว่า นายสุไลมาน แนซา เสียชีวิตในห้องขังระหว่างการควบคุมตัวในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ด้วยสาเหตุที่ยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นการผูกคอตายเอง หรือถูกผู้อื่นทำให้เสียชีวิต

แถลงการณ์ยังอ้างว่า ผู้ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ณ ศูนย์ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้พบปะกับทนายความเพื่อปรึกษาหรือร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิของตน และมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างน้อย 30 กรณีนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2552 จนถึงปัจจุบัน

แถลงการณ์ฉบับนี้ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะหลังจากวันที่ 25 มิ.ย. นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดแถลงข่าวผลสรุปการสอบสวนเบื้องต้นการเสียชีวิตของ นายสุไลมาน แนซา ภายในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ โดย นางอมรา ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวโดยยอมรับว่า การเสียชีวิตของนายสุไลมานมีความไม่ชอบมาพากลที่จะต้องตรวจสอบต่อไป

พร้อมกันนั้นก็ได้เสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อต่อรัฐบาล โดยเน้นให้ป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการซ้อมทรมานระหว่างปฏิบัติการจับกุม คุมขัง หรือซักถามภายในศูนย์ควบคุมตัว รวมถึงการกดดันทางจิตใจ โดยให้จัดนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เข้าร่วมในการซักถามด้วย

ทั้งนี้ นายสุไลมาน วัย 25 ปีถูกพบเป็นศพมีผ้าผูกคอติดกับเหล็กดัดหน้าต่างภายในห้องควบคุมในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อเช้าวันที่ 30 พ.ค.2553 หลังจากถูกคุมตัวมาจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้เพียง 7 วัน ฐานเป็นผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบในพื้นที่

ต่อมามีการชันสูตรศพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และตรวจดีเอ็นเอโดยเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผลชันสูตรไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย หรือรอยนิ้วมือของบุคคลอื่นภายในห้องควบคุม ทำให้ฝ่ายความมั่นคงเชื่อว่า นายสุไลมานน่าจะผูกคอตายเอง แต่ฝ่ายเอ็นจีโอและญาติผู้เสียชีวิตต่างไม่เชื่อผลชันสูตร และสงสัยว่านายสุไลมานอาจจะถูกทำให้ตาย โดยข้อมูลของเอ็นจีโอบางแห่งอ้างว่านายสุไลมานคอหัก



แม่ทัพภาค 4 โวยไม่ยุติธรรมกับทหาร

จากข้อเรียกร้องของเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน และปัญหาการเสียชีวิตของนายสุไลมานนั้น พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4) กล่าวกับ “ทีมข่าวอิศรา” ว่า กรณีของนายสุไลมาน ได้ให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างโปร่งใส่ ในวันแรกที่พบศพมีการเข้าร่วมตรวจชันสูตรพร้อมกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นญาติของผู้เสียชีวิต องค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ แพทย์ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน ตำรวจ ฝ่ายปกครอง อัยการ และนักข่าว รวมสิบกว่าฝ่าย ซึ่งผลการตรวจร่วมกันในวันนั้น ไม่ได้มีฝ่ายใดโต้แย้งหรือติดใจสงสัยการเสียชีวิตของนายสุไลมาน

"ในวันนั้นทางตำรวจเองก็ถามกับทางญาติและตัวแทนจากองค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ว่า ยังมีข้อสงสัยเรื่องการเสียชีวิตอยู่หรือไม่ หากมีก็จะประสานไปยังแพทย์จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อนำศพไปผ่าพิสูจน์เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย แต่ทางญาติและตัวแทนองค์กรสิทธิ์ไม่ติดใจอะไร ทว่าพอนำศพกลับไปแล้ว กลับออกมาบอกว่าการตายของสุไลมานผิดปกติ สงสัยว่าจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ ตรงนี้ผมมองว่ามันไม่ยุติธรรมกับทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เลย”

แม่ทัพภาคที่ 4 ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมตอนที่ศพอยู่ระหว่างการตรวจสอบของทุกฝ่าย ซึ่งญาติและตัวแทนจากองค์กรสิทธิมนุษยชนก็อยู่เป็นสักขีพยาน กลับไม่มีใครโต้แย้ง หากสงสัยหรือคิดว่ามีเงื่อนงำก็ต้องทักท้วงทันที แต่เมื่อนำศพกลับไปแล้วกลับมาอ้างว่าคอหักบ้าง มีสิ่งผิดปกติตรงนั้นตรงนี้บ้าง ทั้งๆ ที่ผลการชันสูตรจากแพทย์ และผลตรวจดีเอ็นเอจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ก็ยืนยันชัดเจน

“คุณคิดว่าคนกลางที่เข้าร่วมตรวจกับคุณหลายๆ ฝ่าย ทั้งอัยการ แพทย์ เขาเป็นอะไร เขาก็มีจรรยาบรรณในวิชาชีพของเขา หากทางเจ้าหน้าที่กระทำความผิดในกรณีนี้จริง จะยอมให้คนอื่นเข้ามาร่วมตรวจสอบทำไม แต่นี่เรายืนยันในความบริสุทธิ์ทุกอย่าง ไม่มีงุบงิบปิดบัง ทำทุกอย่างเปิดเผย”

“ทุกวันนี้การทำงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เป็นไปตามนโยบายของกองทัพบก ไม่มีนโยบายให้ใช้ความรุนแรง เพราะเรารู้ว่าวันนี้กลุ่มใดที่ใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ก็จะมีแต่พ่ายแพ้ กรณีการเสียชีวิตของสุไลมาน คิดกันง่ายๆ ถามว่าถ้าเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผลที่ออกมาก็รู้แล้วว่ามันมีแต่ความเสียหาย แล้วเจ้าหน้าที่จะได้ประโยชน์อะไร เราจะทำไปเพื่ออะไร เมื่อรู้ว่ามีแต่ผลเสียเกิดขึ้นกับตัวเอง”

พล.ท.พิเชษฐ์ ยังกล่าวด้วยว่า ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ที่ผ่านมาสามารถรับรู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของฝ่ายปฏิบัติการในขบวนการก่อความไม่สงบเป็นจำนวนมาก และการดำเนินงานของทางศูนย์ฯก็ไม่มีอะไรปิดบัง

“คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม) หรือนักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่เองก็น่าจะทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ดี เพราะล้วนแต่เคยเข้าไปเยี่ยมชมสภาพภายในศูนย์ฯมาแล้วทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่องค์กรในพื้นที่ องค์กรระดับชาติและองค์กรระหว่างประเทศหลายๆ องค์กรที่ลงมาในพื้นที่สามจังหวัด ก็เคยเข้าไปเยี่ยมชมการทำงานและความเป็นอยู่ของบุคคลภายในศูนย์ฯแล้วทั้งนั้น”

“ที่ผ่านมาการเสียชีวิตของสุไลมาน หรืออีกหลายๆ กรณีที่ทางศูนย์ฯถูกตั้งข้อสงสัย ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ได้เข้าไปตรวจสอบ และเชิญผู้เกี่ยวข้องไปชี้แจง สุดท้ายก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราทำงานกันอย่างโปร่งใส สามารถตอบข้อซักถามได้ทั้งหมด”

ส่วนมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดกรณีซ้ำร้อยนายสุไลมานนั้น แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ทำได้เพียงกำชับให้เจ้าหน้าที่คอยดูแลให้ทั่วถึงมากขึ้น จะให้ถึงขั้นไปควบคุม หรือติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดดูพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายในก็คงทำไม่ได้ เพราะเกรงว่จะละเมิดสิทธิ์ของผู้ถูกเชิญตัวมา กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาอีก

“ผมขอย้ำอีกครั้งว่ากองทัพบกไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ เรายึดหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติมาตลอด หากพบว่ากำลังพลหรือเจ้าหน้าที่ส่วนใดภายใต้การบังคับบัญชากระทำการโดยใช้ความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ จะไม่มีการละเว้นหรือช่วยเหลือ ทุกคนต้องได้รับโทษในความผิดที่กระทำขึ้น เพราะถือว่ากระทำการขัดต่อนโยบายที่วางเอาไว้” พล.ท.พิเชษฐ์ กล่าว



ผอ.ศูนย์ฯซัดองค์กรสิทธิ์บิดเบือน

ขณะที่ พ.อ.ปิยวัฒน์ นาควานิช ผู้อำนวยการศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้เดินทางเข้าพบและชี้แจงรายละเอียดทุกข้อสงสัยกับทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมทั้งได้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนายสุไลมานไปอธิบายให้ฟังด้วย

“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไม่ได้ซักถามเฉพาะกรณีของนายสุไลมาน แต่ยังมีเรื่องการดำเนินงานของศูนย์ฯอีกหลายเรื่อง ซึ่งผมก็ได้ตอบคำถามไปในคราวเดียวกันจนหมดและครบถ้วน ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะสามารถอธิบายได้ทั้งหมด เพียงแต่มีข้อเสนอแนะเรื่องการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้มีตัวแทนหรือหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปมีส่วนร่วม นี่คือข้อเสนอแนะเพียงประเด็นเดียว ซึ่งเรื่องนี้เป็นอำนาจการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา”

พ.อ.ปิยวัฒน์ ยังกล่าวถึงข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ที่ให้ปิดศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ว่า แม้แต่ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ได้เข้าชี้แจงก็ยังไม่ได้พูดประเด็นนี้ มีเพียงองค์กรในระดับพื้นที่เท่านั้นที่พยายามออกมาเรียกร้อง และพยายามให้ข้อมูลบิดเบือนข้อเท็จจริงการทำงานของศูนย์ฯมาตลอด รวมถึงกรณีของนายสุไลมานด้วย

“การเข้าชันสูตรศพและตรวจที่เกิดเหตุหลังการเสียชีวิตของนายสุไลมาน ก็มีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม รวมไปถึงทางตัวแทนจากองค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่เอง ซึ่งก็ไม่มีการโต้แย้งใดๆ แต่เมื่อการตรวจสอบจบแล้ว องค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่กลับออกมาเรียกร้องและตั้งข้อสังเกต ตลอดจนให้ข่าวสารที่บิดเบือนสร้างความเข้าใจผิด ทั้งๆ ที่ทางศูนย์ฯพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ไม่ได้มีการปิดบังข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น”

ส่วนที่มีการกล่าวอ้างในแถลงการณ์ขององค์กรสิทธิ์ฯว่า ทางศูนย์ฯอนุญาตให้ญาติผู้ต้องสงสัยเยี่ยมได้เพียง 1 นาที หรือให้เพียงเห็นหน้า ไม่ยอมให้พูดคุยนั้น พ.อ.ปิยวัฒน์ กล่าวว่า ได้อธิบายกับประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้วว่า สาเหตุที่บ้างครั้งอนุญาตให้เยี่ยมเพียงระยะเวลาสั้นๆ หรือให้เพียงเห็นหน้า เพราะในวันนั้นผู้ถูกเชิญตัวอยู่ระหว่างพาเจ้าหน้าที่ออกไปยังพื้นที่เพื่อตรวจค้นตามจุดต่างๆ หลังจากยอมรับสารภาพ เช่น จุดซุกซ่อนอาวุธปืนหรือวัตถุผิดกฎหมาย

“การให้ญาติได้เห็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ หรือไม่อนุญาตให้พูดคุยกัน เพราะเกรงว่าจะมีการบอกกล่าวจนเกิดผลเสียต่อการลงพื้นที่และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ต้องลงพื้นที่”



แนะให้ตรวจสอบองค์กรสิทธิ์บ้าง

ส่วนเรื่องการขังเดี่ยวตามที่มีการกล่าวอ้างนั้น พ.อ.ปิยวัฒน์ กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงแล้วเราไม่มีห้องขัง เราจัดสร้างสถานที่เป็นห้องพัก มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสม ทั้งห้องน้ำ พัดลม ตู้เสื้อผ้า และให้พักได้ห้องละ 1 คน ไม่มีการล็อคกลอนหรือล็อคกุญแจประตูห้องพักแต่อย่างใด ผู้ที่ถูกเชิญตัวก็มีอิสระในการออกมาทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ ไม่ได้ปิดกั้นหรือบังคับ

“เรื่องนี้จริงๆ แล้วไม่น่าจะมาเป็นประเด็นข้อสงสัยเลย เพราะที่ผ่านมาทางตัวแทนองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับสากล รวมไปถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนในพื้นที่เอง ก็ล้วนเคยเข้าเยี่ยมชม ตรวจสอบ และเห็นความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกเชิญตัวมาแล้วทั้งนั้น”

“ผมอยากจะบอกว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของศูนย์ซักถามเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางที่ลงมาทำงานในพื้นที่ เราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรเลย ตรงกับข้ามอยากให้ทางประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะจากส่วนกลาง เข้ามาตรวจสอบการทำงานของตัวแทนหรือองค์กรในพื้นที่บ้างว่ามีการทำงานกันอย่างไร และมีส่วนได้ส่วนเสียกับกรณีที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหลายๆ ครั้งมีการพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง”

“สำหรับเรื่องร้องเรียนกรณีถูกซ้อมทรมานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีของผู้ที่มีพยานหลักฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญา โดยคนกลุ่มนี้จะถูกส่งตัวไปดำเนินคดีและถูกลงโทษตามกฎหมาย ส่วนผู้ที่ถูกเชิญตัวมาและไม่พบความผิดใดๆ จะไม่พบการร้องเรียน”

“เท่าที่ผมทราบ กลุ่มคนที่ถูกดำเนินคดีมักจะตกเป็นเหยื่อขององค์กรในพื้นที่บางองค์กรที่พยายามร้องเรียนหรือเข้ามาช่วยเหลือต่อสู้คดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลแล้วจะต้องพ่ายแพ้ และต้องได้รับโทษตามกฎหมาย เพราะหลักฐานค่อนข้างชัดเจน จนทำให้ผู้ต้องหาบางรายสูญเสียเงินทองให้กับกลุ่มที่เข้ามาช่วยเหลือจนต้องเป็นหนี้เป็นสิน ทั้งๆ ที่องค์กรเหล่านี้ทราบดีว่าพยานหลักฐานชัดเจน ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แต่เมื่อแพ้คดีก็พยายามโยนความผิดให้กับเจ้าหน้าที่และกระบวนการยุติธรรมว่ารวมหัวกันกลั่นแกล้ง จึงอยากให้ประธานคณะกรรมการสิทธิมุนษยชนแห่งชาติเข้ามาตรวจสอบองค์กรที่มีพฤติกรรมหาประโยชน์จากประชาชนเช่นนี้บ้าง”

ผู้อำนวยการศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ที่ผ่านมาทางศูนย์ฯเป็นหน่วยงานเดียวในพื้นที่ที่สามารถหาข้อมูลความเชื่อมโยงจนนำไปสู่การทำลายโครงสร้างของกลุ่มก่อความไม่สงบที่เคลื่อนไหวอยู่ จึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีหรือทำทุกวิถีทางจากฝ่ายที่ไม่ต้องการให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่ หรือต้องการเห็นความวุ่นวาย ด้วยหวังให้ยุบหรือปิดศูนย์ฯลง



วนที่เหลือ

อ่านต่อ...

วันอาทิตย์, มิถุนายน 27, 2553

หนึ่งปีไอร์ปาแย (จบ) คดีกราดยิง 10 ศพในมัสยิดที่ยังหาคนผิดไม่ได้

“แม้ว่ามันจะผ่านมา 1 ปีแล้ว แต่เราก็ยังติดตามข่าวสารตลอด และมีความหวังว่าทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะสามารถจับคนร้ายที่ยิงชาวบ้านในมัสยิดมาลงโทษตามกฎหมายได้” เป็นเสียงจากชาวบ้านไอร์ปาแยรายหนึ่งที่เผยความรู้สึกกับ "ทีมข่าวอิศรา" กับคดีที่เป็นปริศนา คนร้ายใช้อาวุธสงครามบุกยิงพี่น้องชาวไทยมุสลิมถึงในมัสยิดบ้านไอร์ปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อค่ำคืนวันที่ 8 มิ.ย.ปีที่แล้ว
เสียงจากชาวบ้านรายนี้สะท้อนความจริงว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้สถานการณ์ที่บ้านไอร์ปาแยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ชาวบ้านก็ยังสนใจติดตามความคืบหน้าของคดีอยู่ และก็มีความหวังลึกๆ ว่าการจับกุมผู้ก่อเหตุได้ จะอธิบายถึงสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นใน "บ้านของพระเจ้า"

หากย้อนเส้นทางคดีกราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 10 ราย บาดเจ็บอีก 12 คน เมื่อค่ำคืนวันที่ 8 มิ.ย.2552 จะพบว่าตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เจาะไอร้อง ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพิ่งจะออกหมายจับผู้ต้องหาไปเพียง 1 ราย คือ นายสุทธิรักษ์ คงสุวรรณ อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 132 หมู่ 10 ต.ปางบอ อ.เมือง จ.นราธิวาส
และนายสุทธิรักษ์ เป็นคนเดียวที่ถูกออกหมายจับในฐานะผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ป.วิอาญา ซึ่งอนุมัติโดยศาล
นอกเหนือจากนายสุทธิรักษ์แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.เจาะไอร้อง ยังออกหมาย ฉฉ. ที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มเติมอีก 1 รายในฐานะผู้ต้องสงสัยที่มีความเกี่ยวโยงกับคดี คือ นายลุกมัน ลาเต๊ะบือริง อายุ 26 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านไอร์ปาแยนั่นเอง
การออกหมาย พ.ร.ก.กรณีของ นายลุกมัน สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่อยู่ระยะหนึ่ง เพราะชาวบ้านไม่เชื่อว่าจะมีคนมุสลิมร่วมขบวนฆ่ามุสลิมด้วยกันถึงในศาสนสถานอันเปรียบเสมือน "บ้านของอัลเลาะฮ์"
กล่าวสำหรับนายสุทธิรักษ์ ข้อมูลจากแฟ้มประวัติของฝ่ายความมั่นคง พบว่า นายสุทธิรักษ์เคยเป็นทหารพรานในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง แต่ถูกไล่ออกเนื่องจากพบพฤติกรรมพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด และเป็นมือปืนรับจ้าง มีประวัติอาชญากรรมเคยก่อคดีใช้อาวุธปืนปล้นฆ่า นางกือลือซง ลาเต๊ะ เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2551 และสังหาร นายอับดุลตอเละ ซายอ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ปีเดียวกัน
วันที่ 14 ม.ค.2553 คดีกราดยิง 10 ศพในมัสยิดไอร์ปาแยที่เงียบหายไปนานกว่า 6 เดือน ก็ฮือฮาขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อจู่ๆ นายสุทธิรักษ์ก็ปรากฏตัวพร้อมกับ นายสัญญา จันทรัตน์ ทนายความ เดินทางเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ที่กรุงเทพฯ โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (สบ10) และ พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผบช.ศชต.) เป็นผู้รับมอบตัว

จากการสอบปากคำในเบื้องต้น นายสุทธิรักษ์ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน พร้อมทั้งร้องขอให้โอนคดีจาก จ.นราธิวาส ไปที่กรุงเทพฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัย

นายสัญญา จันทรัตน์ ทนายความของนายสุทธิรักษ์ บอกถึงสาเหตุที่ลูกความของเขาเข้ามอบตัวล่าช้าว่า เกิดจากความเครียด และเกรงว่าญาติพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่จะถูกทำร้าย ประกอบกับพ่อและแม่ของนายสุทธิรักษ์ก็เป็นห่วงในความปลอดภัย เกรงว่าจะถูกกลั่นแกล้ง จึงต้องใช้เวลาในการตั้งหลักเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ สำหรับใช้ต่อสู้คดี ก่อนจะตัดสินใจออกมามอบตัวกับตำรวจกองปราบปราม

นับจากวันมอบตัว ผ่านมาอีกกว่า 6 เดือน คดีดูเหมือนไร้ความคืบหน้า...

พล.ต.ต.ยงยุทธ เจริญวานิช รอง ผบช.ศชต. กล่าวกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า คดียิงในมัสยิดไอร์ปาแยนั้น ได้ตั้งข้อหากับผู้ต้องหาแล้ว และตัวผู้ต้องหาก็ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจกองปราบปราม ทั้งได้ร้องขอให้พนักงานสอบสวนจากส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบคดี เหตุนี้ทางตำรวจในพื้นที่จึงต้องส่งสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้กองปราบปรามรับผิดชอบแทน จึงไม่ทราบว่าคดีคืบหน้าไปถึงไหน

แหล่งข่าวจากคณะพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เปิดเผยว่า เพิ่งได้รับผลตรวจพิสูจน์อาวุธปืนที่คนร้ายใช้ในการก่อเหตุ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ต้องนำมาประกอบในสำนวน เมื่อได้หลักฐานชิ้นนี้มา สัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะพนักงานสอบสวนอีกครั้งเพื่อมีความเห็นทางคดี จากนั้นจะสั่งคดีและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณาต่อไป

"สาเหตุที่ล่าช้าเพราะคดีนี้มีอะไรลึกๆ อยู่เยอะเหมือนกัน" เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจยิ่งของหนึ่งในทีมพนักงานสอบสวน

ส่วนกรณีของ นายลุกมัน ลาเต๊ะบือริง ผู้ต้องสงสัยที่ถูกหมาย พ.ร.ก. จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่สามารถติดตามตัวได้ และนายลุกมันก็หายหน้าไปจากพื้นที่ ไม่มีใครเคยเห็นแม้เงา

จากการลงพื้นที่ไอร์ปาแยของ "ทีมข่าวอิศรา" เที่ยวล่าสุด ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงตั้งข้อสงสัยและไม่เชื่อว่า นายลุกมันจะเข้าไปเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับคดีกราดยิงในมัสยิด เพราะในกลุ่มผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บบางส่วนก็เป็นญาติของนายลุกมันเอง

นายสมาน ปะเงาะห์ ผู้ใหญ่บ้านไอร์ปาแย กล่าวกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า เท่าที่ทราบข้อมูล นายลุกมันเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านจริงๆ แต่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านมานานแล้ว ทราบว่าเข้าไปทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียประมาณ 3 ปีกว่า และไม่เคยย้อนกลับเข้ามาที่หมู่บ้านอีกเลย จึงเป็นธรรมดาที่ชาวบ้านย่อมไม่เชื่อว่า นายลุกมันเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ที่สำคัญผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บบางคนก็เป็นญาติของนายลุกมัน

“สำหรับคดียิงในมัสยิด คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมที่จะดำเนินการ ที่ผ่านมาก็มีบ้างที่ชาวบ้านพูดถึงหรือถามถึง แต่ก็เข้าใจว่าการดำเนินการมันต้องใช้เวลา และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะหาคำตอบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนในหมู่บ้านได้" ผู้ใหญ่ฯสมาน กล่าว

คดีกราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน ช่วงปลายปีที่แล้วก่อนที่นายสุทธิรักษ์จะเข้ามอบตัว ยังมีเหตุการณ์ที่สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่เป็นอย่างมาก ก็คือการเผยแพร่ใบปลิวที่ทำขึ้นในลักษณะเป็น "หมายจับ" ถูกมือมืดนำไปติดและแจกจ่ายในหลายอำเภอของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ใบปลิวหรือ "หมายจับ" ดังกล่าวมีข้อความระบุว่า “จับตายหน่วยปฏิบัติการเลือดมัสยิดอัลฟุรกอนไอปาแย” ลงชื่อ “เหล่านักรบแห่งรัฐปัตตานี”

ใบปลิวดังกล่าวปรากฏภาพของชายฉกรรจ์ 6 คน โดย 2 ใน 6 เป็นภาพของสุทธิรักษ์ และนายลุกมัน ซึ่งเป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าเป็นผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยในคดีอยู่แล้ว ส่วนอีก 4 รายตรวจสอบพบว่าเป็นอาสาสมัครรักษาเมือง (อรม.) ในพื้นที่เทศบาลตำบลตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส

หลังใบปลิวปริศนาเผยแพร่ได้ไม่นาน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกมายืนยันว่า ชายฉกรรจ์ 4 คนในหมายจับ ไม่ใช่ผู้ต้องหาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กราดยิงในมัสยิด แต่ก็ไม่สามารถหาที่มาของใบปลิวดังกล่าวได้เช่นกัน

ชายฉกรรจ์หนึ่งใน 4 รายที่ปรากฏภาพอยู่ในใบปลิว เคยเปิดใจให้สัมภาษณ์กับ "ทีมข่าวอิศรา" โดยเขาเชื่อว่าใบปลิวดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความสงบในพื้นที่ และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีกราดยิงในมัสยิด แต่ต้องการป้ายความผิดให้กับกลุ่ม อรม.ของพวกเขา เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจผิด และยังเป็นการตอกลิ่มสร้างความแตกแยกให้กับพี่น้องชาวไทยพุทธกับไทยมุสลิมในพื้นที่ อ.ระแงะ และพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย เพื่อง่ายต่อการเข้าไปสร้างสถานการณ์ เพราะที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของชาวบ้านในเขตเทศบาลตันหยงมัส ทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมค่อนข้างเข้มแข็ง ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีเข้าไปก่อเหตุยาก

“การออกใบปลิวเป็นเหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือป้ายความผิดให้คนอื่น และยังสร้างความแตกแยก ความหวาดระแวงให้เกิดขึ้นในหมู่พี่น้องไทยพุทธกับไทยมุสลิม" เป็นบทวิเคราะห์จากหนึ่งใน 4 ชายฉกรรจ์ที่ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับปริศนา

อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่น่าแปลกใจ กล่าวคือ ในใบปลิวปรากฏภาพนายลุกมัน ชาวไทยมุสลิมหนึ่งเดียวที่ถูกออกหมายทั้งโดยเจ้าหน้าที่ และกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็น "นักรบแห่งรัฐปัตตานี" ทั้งๆ ที่คนมุสลิมส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่เชื่อว่าจะมีมุสลิมร่วมขบวนฆ่ามุสลิมด้วยกันถึงในมัสยิด

กับอีกประเด็นหนึ่งคือ ไม่มีการแจกจ่ายใบปลิวฉบับนี้ในพื้นที่บ้านไอร์ปาแย อันเป็นสถานที่เกิดเหตุแต่อย่างใด โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากทั้งผู้นำชุมชน ชาวบ้านไอร์ปาแยเอง รวมไปถึงหน่วยงานความมั่นคงที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ด้วย

นับถึงวันนี้...ผ่านไปแล้วกว่า 1 ปีสำหรับเหตุการณ์กราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน ดูเหมือนคดีไอร์ปาแยกำลังขึ้นทำเนียบคดีปริศนาที่ค้างคาใจผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามหลังคดีใหญ่อย่างตากใบและกรือเซะ!

อ่านต่อ...

วันศุกร์, มิถุนายน 25, 2553

ปาบึ้มหน้ามัสยิดที่สายบุรี…อีกหนึ่ง“เหตุร้ายอธิบายยาก”

แม้จะยังไม่มีคำตอบสุดท้ายที่ชัดเจนเป็นข้อยุติว่าทำไมช่วงนี้ “ไฟใต้” จึงกลับมาคุโชนอีกครั้ง แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันก็คือสถานการณ์ความรุนแรงกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่มากเป็นพิเศษ และยังมีเหตุการณ์แปลกๆ ที่นำไปสู่ความแตกแยก กลายเป็นหัวข้อวิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

และหลายเรื่องฝ่ายความมั่นคงก็ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือตามเคย ไม่ว่าจะเป็นปริศนาการเสียชีวิตของ นายสุไลมาน แนซา ผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง วัย 25 ปี ที่เป็นศพผูกคอตายในค่ายทหาร หรือกรณีเหตุระเบิดบนถนนหน้ามัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลาขณะที่มีรถทหารคันหนึ่งแล่นผ่าน แต่ช่วงแรกทหารกลับไม่ยอมรับว่าเป็นรถของกำลังพลตัวเอง ฯลฯ


และล่าสุดก็คือเหตุการณ์คนร้ายปาระเบิดเข้าไปบริเวณหน้ามัสยิดนูรูลมุตตาลีน บ้านตะบิ้ง หมู่ 1 ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้มีเด็กวัย 9 ขวบกับ 10 ขวบ และผู้หญิงวัยกลางคนได้รับบาดเจ็บรวม 3 คน

เหตุรุนแรงที่กระทำต่อมัสยิดหรือใกล้กับสถานที่ประกอบศาสนกิจเช่นนี้ ต้องยอมรับว่ามีความอ่อนไหวสูงอยู่แล้ว แต่นี่ยังเกิดเหตุในพื้นที่ อ.สายบุรี อีก ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งหนักหนักสาหัสมากขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่าสายบุรีเคยมีเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกี่ยวพันกับเจ้าหน้าที่รัฐหลายเหตุการณ์ ซ้ำยังมีเหตุรุนแรงที่ชาวบ้านมองว่าเป็นลักษณะตอบโต้กันไปมาระหว่างฝ่ายรัฐกับกลุ่มขบวนการที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ด้วย



ย้อนรอยเหตุทหารพรานยิงชาวบ้าน

หลายคนคงยังจำได้ดีกับค่ำคืนวันเสาร์ที่ 22 ส.ค.2552 ที่ชุดอาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) จากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 ยิงกับกลุ่มวัยรุ่นและประชาชนที่บ้านปาตาบาระ หมู่ 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี ขณะอ้างว่าขอเข้าตรวจค้นกลุ่มวัยรุ่นที่กำลังเสพยาเสพติดบริเวณชายหาดริมทะเล จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย (ภายหลังเสียชีวิต 1 ราย) และสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้าน ถึงกับรวมตัวกันนับร้อยคนมาล้อมกรอบกลุ่มอาสาสมัครทหารพรานจนกลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต เพราะเกิดเหตุในช่วงเทศกาลถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอนพอดี

แม้ในเวลาต่อมาสถานการณ์ตึงเครียดจะคลี่คลาย เมื่อ นายลือชัย เจริญทรัพย์ นายอำเภอสายบุรี เข้าไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจและยอมรับข้อเรียกร้อง 3 ข้อของชาวบ้าน คือให้ญาติผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำการเกินกว่าเหตุ และให้มีตัวแทนชาวบ้านร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงทุกขั้นตอน แต่หลังจากนั้นไม่นานเหตุการณ์ก็บานปลาย

โดยเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 27 ส.ค.2552 หรือ 5 วันหลังเกิดเหตุ มีคนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวนลอบวางเพลิงเผาสถานที่ราชการ 2 แห่งใน อ.สายบุรี พร้อมทั้งโปรยตะปูเรือใบ ตัดต้นไม้ขวางถนน เผายางรถยนต์ วางวัตถุต้องสงสัย และติดป้ายที่ทำจากกระสอบปุ๋ยโจมตีการทำงานของฝ่ายปกครอง อ.สายบุรี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารพราน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 ช่วงบ้านทุ่งคล้าถึงบ้านมะนังดาลำ ท้องที่ ต.ทุ่งคล้า ต.เตราะบอน ต.ตะบิ้ง และ ต.มะนังดาลำ

ถัดจากนั้นอีก 1 คืน เกิดเหตุคนร้าย 2 คนใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ ขว้างระเบิดเข้าใส่กลุ่มชาวบ้านที่เล่นเปตองอยู่ในสนามเปตอง บริเวณบ้านเลขที่ 75/4 หมู่ 2 ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายรอฮะ แวกาจิ อายุ 60 ปี ทั้งยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 16 ราย ล้วนเป็นคนสูงอายุ

น่าสังเกตว่าเป็น ต.ตะบิ้ง ตำบลเดียวกับที่เพิ่งเกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดเข้าใส่ประชาชนบริเวณหน้ามัสยิดเมื่อไม่กี่วันมานี้ เพียงแต่ต่างหมู่กันเท่านั้น

และแม้ในที่สุดเหตุการณ์อาสาสมัครทหารพรานใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้านจะจบลงได้ด้วยดี เพราะฝ่ายเจ้าหน้าที่ยอมรับว่ากระทำการเกินกว่าเหตุจริง และผู้บังคับบัญชาได้พาอาสาสมัครทหารพราน 3 นายที่ปฏิบัติการในคืนวันนั้นเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน สภ.สายบุรี กระทั่งล่าสุด “ทีมข่าวอิศรา” ตรวจสอบพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สรุปสำนวนสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 นาย ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการแล้วก็ตาม

ทว่าบรรยากาศคุกรุ่น อึมครึมก็ไม่ได้คลี่คลายไปจาก อ.สายบุรี...



เหตุร้ายอธิบายยาก

กับเหตุการณ์รุนแรงเที่ยวล่าสุดที่เกิดขึ้นถึงหน้ามัสยิด ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบที่ทวีความน่าสะพรึงกลัวขึ้นในช่วงนี้ นายลือชัย เจริญทรัพย์ นายอำเภอสายบุรี วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดจากประเด็นความมั่นคงลดจำนวนลง แต่มีสิ่งแปลกปลอมแทรกเข้ามาแทน และสร้างความสับสนให้กับผู้แก้ปัญหามากพอสมควร

“มันเหมือนผูกปมเงื่อนอะไรกันบางอย่าง เช่น กรณีเหตุล่าสุดที่คนร้ายขว้างระเบิดหน้ามัสยิดบ้านตะบิ้ง เหตุการณ์นี้เหมือนคนร้ายเจตนากระทำ แต่โดยปกติกลุ่มขบวนการจริงๆ จะไม่ทำในบ้านของอัลลอฮ์ ยังโชคดีที่ลูกระเบิดไม่เข้าไปในมัสยิด ตกแค่ที่กำแพง สิ่งที่ทำให้เกิดความสับสนคือลักษณะของลูกระเบิด เป็นระเบิดที่ผลิตเอง ตรงนี้ที่ทำให้ผิดเพี้ยนไป”

“ช่วงนี้มีหลายเรืองที่เป็นข้อเคลือบแคลงสงสัยของชาวบ้าน เช่น กรณีการเสียชีวิตของนายสุไลมาน ขณะอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ (สุไลมานเป็นชาว ต.กะดุนง อ.สายบุรี) สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องช่วยกันคลี่คลาย ถ้าไม่คลี่คลายมันจะนำไปสู่เงื่อนไข ฉะนั้นต้องทำทุกเรื่องให้กระจ่าง”

“ที่สำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม ต้องเริ่มตั้งแต่ความเป็นธรรมในเรื่องข้อมูล ต้องให้ญาติพี่น้องของผู้ถูกจับกุมมีโอกาสได้รับรู้ในฐานะที่เขาเป็นครอบครัวเดียวกัน ก็คือกระบวนการจับกุมเป็นอย่างไร จับไปเพราะมีเหตุสงสัยอะไร ซึ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ไปเคลียร์ ไปคุย ไปสร้างความเข้าใจ แต่เมื่อไหร่ที่ไปคิดว่ามันไม่เป็นไรๆ อย่างนั้นมันไม่ใช่ และจะสร้างปัญหาตามมา เนื่องจากแต่ละคนมีญาติมีพี่น้อง มันก็จะลาม เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความไม่เรียบร้อยได้ แม้ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จะพยายามเข้าไปสร้างความรู้สึกตรงนี้ แต่ก็ยังช้าอยู่”

นายอำเภอสายบุรี กล่าวอีกว่า เมื่อความรู้สึกของชาวบ้านยังเป็นลบ จึงเปิดช่องให้เกิดเหตุรุนแรงได้ง่ายและถี่ขึ้น

“ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือต้องสร้างความเข้าใจเพื่อยับยั้งการขยายหรือลุกลามของปัญหา เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังมันผิดปกติจากที่ผ่านมามากพอสมควร” เขาย้ำพร้อมตั้งข้อสังเกต แต่ก็เชื่อว่าเหตุร้ายที่สายบุรีไม่ใช่การแก้แค้นตอบโต้กันไปมา อาจมีปัญหาเรื่องยาเสพติดบ้าง แต่ประเด็นคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเวลานี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกัน เชื่อมในลักษณะการกระทำที่ "ตอบคำถามชาวบ้านไม่ได้"



“มือที่สาม”ตอกลิ่ม

นายณัฐวุฒิ อาแวปูเตะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตะบิ้ง อ.สายบุรี มองไม่ต่างกันว่า สถานการณ์ในพื้นที่ขณะนี้มีการก่อเหตุในลักษณะสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความวุ่นวายอย่างแน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากฝ่ายไหน

“ชนวนเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมีทั้งปัญหาการเมือง ยาเสพติด หรือเรื่องส่วนตัวก็มี และการก่อเหตุที่เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐก็มี คือตอนนี้เหตุการณ์มันผสมโรงกันทั้งคนก่อเหตุและสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรง”

อย่างไรก็ดี นายก อบต.ตะบิ้ง ยังเชื่อว่า ผู้ก่อเหตุไม่น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่สงสัยว่าเป็นบุคคลที่สามที่ต้องการเข้ามาสร้างความแตกแยกและสร้างความไม่เข้าใจกันระหว่างชาวบ้านกับรัฐ

“ถ้าถามถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านในขณะนี้ ก็ต้องบอกว่ายังอยู่กันได้ แต่เหตุรุนแรงจะเพิ่มขึ้น เพียงแต่ต้องระมัดระวังตัวกันให้มากกว่าเดิม ส่วนความหวาดระแวงก็มีอยู่ตลอดอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐ หากเจ้าหน้าที่เข้าถึง ชาวบ้านก็จะเข้าใจและหวาดระแวงน้อยลง แต่เมื่อไหร่ที่เจ้าหน้าที่เข้าไม่ถึง ความหวาดระแวงก็จะมากทันที” นายณัฐวุฒิ กล่าว

นายสมพร สังข์สมบุญ นักวิจัยอิสระที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่มานานปลายปี กล่าวว่า เหตุการณ์รุนแรงในช่วงหลังๆ เมื่อลองสังเกตดูดีๆ แล้วพบว่าแปลกไปกว่าในอดีต และไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเกิดจากฝ่ายไหน แต่ก็มั่นใจว่ามีมือที่สามเข้ามาป่วนสถานการณ์ เพื่อคงความรุนแรงในพื้นที่ต่อไป

“สถานการณ์ขณะนี้มีทั้งที่มาจากเรื่องการเมือง ซึ่งรวมถึงการเมืองในส่วนกลางและการเมืองท้องถิ่น เรื่องส่วนตัว เรื่องยาเสพติด และเรื่องของขบวนการ ทำให้เวลาเกิดเหตุก็ยากที่จะวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากฝ่ายไหน มันแตกต่างจากการก่อเหตุเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามากทีเดียว” นายสมพร กล่าว



เอ็กซเรย์สายบุรี

อ.สายบุรี เป็นอำเภอติดทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีราว 40-50 กิโลเมตร จัดว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดอำเภอหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งยังเป็นหัวเมืองเก่าที่มีความรุ่งเรืองและมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีสถานที่สำคัญทั้งในทางศาสนา วัฒนธรรม และการปกครองมากมาย

ปัจจุบัน อ.สายบุรี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ต.ตะลุบัน ต.ตะบิ้ง ต.ปะเสยะวอ ต.บางเก่า ต.บือเระ ต.เตราะบอน ต.กะดุนง ต.ละหาร ต.มะนังดาลำ ต.แป้น และ ต.ทุ่งคล้า

ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา สายบุรีเป็นหนึ่งในหลายอำเภอที่ถูกจัดให้เป็น “พื้นที่สีแดง” มีสถิติเหตุรุนแรงสูงมาก แม้ในช่วงปี 2551 ที่สถานการณ์ความไม่สงบในภาพรวมเริ่มคลี่คลายลงบ้าง แต่สายบุรีกลับยังตึงเครียดต่อเนื่อง บางเดือนเกิดเหตุถี่ยิบในระดับวันเว้นวันเสียด้วยซ้ำ อย่างเช่นในช่วงปลายปี 2551...

21 ธ.ค. คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณศาลาที่พักริมทาง บริเวณสามแยกบ้านทุ่งน้อย หมู่ 1 ต.ละหาร อ.สายบุรี เพื่อดักสังหารทหารพรานชุดลาดตระเวนที่มักแวะนั่งพักที่ศาลาแห่งนี้เป็นประจำ แรงระเบิดทำให้อาสาสมัครทหารพรานได้รับบาดเจ็บ 1 นาย

22 ธ.ค. เกิดเหตุคนร้ายซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดร้อย ร.4409 กรมทหารพรานที่ 44 ซึ่งเป็นชุดคุ้มครองรถรับส่งนักเรียน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ท้องที่บ้านวังชัย ต.ละหาร อ.สายบุรี เป็นเหตุให้ทหารพรานได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 1 นาย

24 ธ.ค. คนร้ายลอบวางระเบิดภายในโรงเรียนบ้านจะเฆ่ หมู่ 2 ต.แป้น อ.สายบุรี เพื่อดักสังหารทหารหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 26 จำนวน 6 นาย ปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองครู ขณะกำลังนั่งพักผ่อนอยู่ที่ม้านั่งหินอ่อนภายในโรงเรียน แรงระเบิดทำให้ทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย

25 ธ.ค. คนร้ายประกบยิง ร.ต.ต.มาหาหมัดสาเหด อัลยุฟรี อายุ 46 ปี รองสารวัตรสืบสวน สภ.สายบุรี ขณะขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจของโรงพักออกจากชุมชนในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน อ.สายบุรี เสียชีวิตคาถนน

29 ธ.ค. คนร้ายจ่อยิง นายสุธรรม ทวีศรี อายุ 41 ปี และ นางโสธิดา สร้อยแก้ว อายุ 26 ปี อากับหลานซึ่งเป็นพนักงานบริษัท ทศท จำกัด (มหาชน) ประจำ อ.สายบุรี ขณะนั่งอยู่บนรถยนต์บริเวณจุดกลับรถบ้านมะนังดาลำ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ท้องที่หมู่ 1 ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี เสียชีวิตทั้งคู่

และที่สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดครั้งหนึ่งก็คือ เหตุการณ์คนร้ายใช้รถกระบะเป็นพาหนะ กราดอาก้าสังหาร นายอับดุลการิม ยูโซ๊ะ อายุ 46 ปี อิหม่ามประจำมัสยิดกาหยี เสียชีวิตบริเวณหน้ามัสยิด บนถนนตะลุบัน ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี เมื่อเที่ยงวันที่ 30 ม.ค.2552 โดยอิหม่ามอับดุลการิมเพิ่งออกจากเรือนจำมาไม่ถึง 3 เดือน หลังจากถูกจับกุมในข้อหาครอบครองอาวุธสงคราม และถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีนานนับปี กระทั่งถึงที่สุดศาลพิพากษายกฟ้อง

หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ อำเภอริมทะเลแห่งนี้นับเป็น “เหตุร้ายอธิบายยาก” และเป็นโจทย์ข้อยากที่รัฐต้องเร่งแก้ เพื่อสถาปนาความสงบสุขให้คืนสู่ดินแดนสายบุรีโดยเร็ว

อ่านต่อ...

วันพุธ, มิถุนายน 23, 2553

ว่าด้วยการตายของ สุไลมาน แนซา กับผลสะเทือนรุนแรงกว่าที่คาด

น้องๆ นักข่าวในสามจังหวัดเล่าให้ผมฟังว่า ประเด็นการเสียชีวิตของ สุไลมาน แนซา ในลักษณะผูกคอตายคาค่ายทหารนั้น ยังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในพื้นที่ แม้ว่าฝ่ายความมั่นคงจะออกมาชี้แจงแสดงหลักฐานอย่างหนักแน่นว่าเป็นการผูกคอตายเองก็ตาม
และแน่นอนว่าประเด็นนี้ถูก "ฝ่ายที่คิดตรงข้ามกับรัฐ" นำไปขยายผลอย่างกว้างขวางในหมู่พี่น้องประชาชน เพราะเกี่ยวเนื่องกับการใช้กฎหมายพิเศษคุมตัวผู้ต้องสงสัยไปซักถาม ซึ่งนับถึงวันนี้ก็มีผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวจากยุทธการ “ปิดล้อม-ตรวจค้น” ตลอดหลายปีที่ผ่านมามากมายหลายพันคน ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าเป็นหมื่นคนด้วยซ้ำ ในจำนวนนี้บางส่วนได้รับการปล่อยตัว บางส่วนก็ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา
สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องบางเรื่องที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา บางครั้งกลับส่งผลสะเทือนรุนแรงกว่าที่คาดคิด
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด ๆ ก็คือเหตุระเบิดบนถนนตรงข้ามมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา เมื่อค่ำวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง “ทีมข่าวอิศรา” ได้นำเสนอสกู๊ปข่าวเชิงสืบสวนให้ได้เห็นข้อเท็จจริงทุกแง่มุมไปแล้ว
ย้อนกลับมาที่เรื่องการเสียชีวิตของสุไลมาน เผอิญผมได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ในวันพบศพของเขาในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงคยุทธบริหาร เพราะลงไปทำงานในพื้นที่พอดี และผมได้เขียนเรื่องนี้เป็นบทความขนาดยาวส่งให้เพื่อนสื่อมวลชนนำไปตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับหนึ่ง โดยในบทความดังกล่าวผมได้เชื่อมโยงข้อมูลและข้อเท็จจริงในหลายๆ มิติเพื่อให้เห็นว่า เหตุใด “การตาย” ที่บางครั้งมองว่าเป็นแค่ “หนึ่งชีวิต” จึงส่งผลสะเทือนมากมายในพื้นที่ปลายด้ามขวาน
ประกอบกับช่วงวันที่ 11-13 มิ.ย. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของสุไลมานด้วย ผมจึงขออนุญาตนำบทความดังกล่าวมานำเสนอไว้ในพื้นที่ตรงนี้ แม้เนื้อหาจะยาวไปสักนิด แต่ก็น่าจะอธิบายความจริงในบางมิติที่บางฝ่ายอาจจะละเลยไป

คดีปริศนาผูกคอตายในค่ายทหาร
จุดไฟชายแดนใต้...เขย่าวงการยุติธรรม
ข่าวเล็กๆ ที่แทรกขึ้นมาจากชายแดนใต้ช่วงที่สังคมไทยกำลังใจจดใจจ่อกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งแท้ที่จริงเป็นเวที “ฟอกผิด-สาดโคลน” กันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้น ก็คือการเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของ สุไลมาน แนซา ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคง วัยเพียง 25 ปี เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา
การจากไปของ สุไลมาน แม้จะไม่ได้รับความสนใจจากสื่อส่วนกลางและคนไทยในภูมิภาคอื่นของประเทศมากนัก แต่กรณีนี้กลายเป็น “คดีปริศนา” ที่ทำให้สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตึงเครียดขึ้นมาอีกรอบ
เพราะ สุไลมาน กลายเป็นศพในลักษณะ “ผูกคอตาย” ในห้องควบคุมของศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
พูดง่ายๆ คือตายคาค่ายทหาร!
ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ คือ “ศูนย์ซักถามผู้ต้องสงสัย” ที่ใหญ่ที่สุดของทหารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ผู้ต้องสงสัยที่ว่านี้ก็คือผู้ที่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก และ/หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 และต่ออายุมาแล้วรวม 19 ครั้ง
ผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับตามกระบวนการนี้ยังไม่มีสถานะเป็น “ผู้ต้องหา” เพียงแต่เป็น “ผู้ต้องสงสัย” ที่ถูกเชิญตัวมา “ซักถาม” โดยใช้พื้นที่ของศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งในส่วนของตำรวจก็มีศูนย์ลักษณะนี้เช่นกัน ชื่อว่า “ศูนย์พิทักษ์สันติ” ตั้งอยู่ในโรงเรียนตำรวจภูธร 9 ซึ่งปัจจุบันคือศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) อ.เมือง จ.ยะลา
การตายของ สุไลมาน กลายเป็นเรื่องขึ้นมา เพราะพ่อแม่และญาติของสุไลมานไม่เชื่อว่าเขาจะฆ่าตัวตายเอง แต่สงสัยว่าน่าจะถูกทำร้ายจนตาย แล้วนำศพมาจัดฉากเป็น “ฆ่าตัวตาย” มากกว่า
และแม้ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา จะมีผลการชันสูตรศพจากแพทย์โรงพยาบาลหนองจิก จ.ปัตตานี ออกมาแล้วว่าไม่พบร่องรอยถูกทำร้ายจนตาย แต่นั่นยังไม่ใช่ปลายทางของคดี เพราะเป็นการเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าพนักงานที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
กรณีนี้จึงต้องมีคดี “ไต่สวนการตาย” ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องทำสำนวนส่งให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนการตาย ให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียชีวิต (ในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่)
ขณะเดียวกัน นายเจ๊ะแว แนซา บิดาของสุไลมาน ก็ได้แสดงเจตจำนงขอความช่วยเหลือจากศูนย์ทนายความมุสลิมที่ จ.ปัตตานี เพื่อให้ยื่นคัดค้านในกระบวนการไต่สวนการตายในขั้นตอนที่สำนวนถูกส่งถึงศาลด้วย
การเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของสุไลมาน ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรีบประโคมข่าวว่าเขายอมรับสารภาพว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบ เคยก่อคดียิงประชาชนมาแล้วถึง 14 คดี และสรุปเหตุการณ์ง่ายๆ ว่าสุไลมานผูกคอตายเอง และญาติไม่ติดใจนั้น นอกจากจะเป็นการจุดกระแสความไม่พอใจขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนเชื่อว่านำมาสู่การสร้างสถานการณ์ป่วนเมืองถึงกว่า 50 จุดในหลายอำเภอของ จ.ปัตตานี และยะลา เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย
สิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ เลขาธิการศูนย์ทนายความมุสลิม ชี้ประเด็นว่า ตามบทบัญญัติมาตรา 12 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนดให้การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคง เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมได้คราวละ 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน โดยทุกๆ 7 วัน เจ้าหน้าที่ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขยายเวลาควบคุมตัวต่อด้วย แต่การขยายเวลาดังกล่าวกลับมีระเบียบของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) ควบคุมอยู่ คือหากจะขอขยายเวลาควบคุมตัว ต้องขอก่อนครบกำหนด 3 วัน และไม่ต้องนำตัวผู้ต้องสงสัยไปศาล
ทนายสิทธิพงษ์ ระบุว่า ระเบียบนี้ทำให้เกิดความรู้สึก “สองมาตรฐาน” และยังเปิดช่องให้มีการซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยระหว่างถูกควบคุมตัว
“ระเบียบของ กอ.รมน.ภาค 4 เหมือนเป็นการปิดโอกาสไม่ให้ผู้ที่ถูกควบคุมตัวได้บอกต่อศาลหากมีการซ้อมทรมานระหว่างการควบคุม ทางศูนย์ทนายความมุสลิมพยายามเรียกร้องให้ออกข้อบังคับเหมือนกับข้อบังคับประธานศาลฎีกาในการสั่งฟ้องผู้ต้องหาคดีทั่วไป คือต้องถามผู้ต้องหาด้วยว่าจะคัดค้านหรือไม่ ฉะนั้นการขอขยายเวลาควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในสามจังหวัดภาคใต้ก็น่าจะเปิดโอกาสเช่นนี้เหมือนกัน คือต้องคุมตัวผู้ต้องสงสัยไปศาล เพื่อให้มีโอกาสได้บอกเล่าข้อมูลต่อศาลได้”
“ประเด็นนี้ถือว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติสองมาตฐาน เพราะการจับกุมคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ ก็ถูกจับตามหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นเดียวกับภาคใต้ แต่เวลาจะครบกำหนดควบคุมตัว ศาลจะโทรศัพท์ไปสอบถามผู้ถูกควบคุมตัวว่าจะคัดค้านการขยายเวลาคุมตัวหรือไม่ ต่างจากในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่มีการซักถามใดๆ เลย ทั้งๆ ที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน”
นี่คือความซับซ้อนของระเบียบกฎหมายที่ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างเป็นรูปธรรม และความไม่ยุติธรรมทางความรู้สึก!

ถนนสายไร้อิสรภาพ
เส้นทางของสุไลมาน หากเขาไม่เสียชีวิตลงเสียก่อนจะเป็นอย่างไร?
คำตอบก็คือเขาอาจถูกควบคุมตัวเต็มเวลาตามกรอบที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจไว้คือ 30 วัน จากนั้นก็จะถูกแจ้งข้อหาในคดีอาญา เพราะตามข้อมูลจากฝ่ายทหารอ้างว่าเขายอมรับสารภาพว่าเป็นแนวร่วมกลุ่มติดอาวุธ (อาร์เคเค) และเป็นระดับแกนนำเสียด้วย
เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา เขาก็จะถูกควบคุมตัวในชั้นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) อีก 48 ชั่วโมง จากนั้นพนักงานสอบสวนต้องนำตัวไปฝากขังต่อศาล และตามสูตรต้องยื่นคัดค้านการประกันตัว เพราะเป็นคดีอุกฉกรรจ์
คดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ล้วนตั้งข้อหาฉกรรจ์มีโทษระดับประหารชีวิตแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นฆ่าคนตายโดยเจตนา อั้งยี่ ซ่องโจร ก่อการร้าย รวมไปถึงกบฏแบ่งแยกดินแดน โอกาสที่เขาจะต้องสิ้นอิสรภาพระหว่างการทำสำนวนส่งอัยการและรออัยการสั่งฟ้องต่อศาลจึงมีสูง กฎหมายให้อำนาจผัดฟ้องฝากขังได้อีก 7 ผลัด ผลัดละ 12 วัน รวมเป็น 84 วัน
เมื่อคดีถึงศาลก็มักไม่ได้ประกันตัว เพราะเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ก็ต้องสิ้นอิสรภาพอยู่ในเรือนจำตลอดระยะเวลาการพิจารณาคดีอีกราว 2-3 ปี
แต่เชื่อหรือไม่ว่าคดีความมั่นคงกว่า 60% ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลพิพากษายกฟ้อง!
เท่ากับว่าผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหาอย่างสุไลมาน (หากไม่จบชีวิตลงเสียก่อน) จะต้องใช้ชีวิตแบบไร้อิสรภาพยาวนานกว่า 3 ปี หลายคนแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ยังถูกสั่งขังระหว่างอุทธรณ์เข้าไปอีก...นี่คือสภาพที่เกิดขึ้นจริงกับผู้คนนับร้อยนับพันคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้!

อยุติธรรมที่ปลายขวาน
เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงยุติธรรมโดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่างๆ ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากถึง 514 คน
เป็นกลุ่มบุคคลมากกว่าครึ่งพันที่ไม่ได้รับอิสรภาพ เพราะไม่ได้รับการประกันตัวจากกระบวนการยุติธรรม
วงสัมมนาในวันนั้น ทางกระทรวงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งอัยการ ตำรวจ และทนายความที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาร่วมระดมความเห็น เนื้อหาที่ปรากฏผ่านเวทีเป็นการชำแหละปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เอาไว้อย่างน่าบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ทนายสิทธิพงษ์ ซึ่งไปร่วมเวทีด้วย ให้ข้อมูลว่า ทางศูนย์ทนายความมุสลิมรับคดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้เอาไว้กว่า 500 คดี แต่ละคดีมีจำเลยมากกว่า 1 คน ส่วนใหญ่จำเลยจะอยู่ที่ 3-7 คน จากประสบการณ์ที่ทำงานมาชัดเจนว่าการให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนและพิจารณาคดีมีความสำคัญกับครอบครัวผู้ต้องหายิ่งกว่าคำพิพากษายกฟ้องในท้ายที่สุดเสียอีก
"การยื่นประกันตัวต้องใช้หลักทรัพย์ 7-8 แสนบาท ที่ดินตาบอดก็ใช้ไม่ได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีหลักทรัพย์มากขนาดนั้น เมื่อไม่มีก็ต้องรอคำพิพากษา แต่ปัญหาก็คือหลายคดีแม้จะยกฟ้องในศาลชั้นต้น แต่ก็ให้ขังระหว่างอุทธรณ์ ทำให้มีผู้ต้องขังคดีความมั่นคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเป็นจำนวนมาก"
ทนายสิทธิพงษ์ เสนอว่า น่าจะใช้ช่องทางตาม ป.วิอาญา มาตรา 173/1 ที่กำหนดให้ศาลอาจกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานได้ เพื่อใช้ในการกรองคดี จะได้เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานสำคัญเพียงพอที่จะทำให้ศาลลงโทษได้หรือไม่
"คดีความมั่นคงส่วนใหญ่ไม่มีประจักษ์พยาน มีแต่คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวน ซึ่งในหลายคดีเป็นคำสารภาพในชั้นซักถาม (ช่วงควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ด้วยซ้ำ ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้ ฉะนั้นหากมีการตรวจพยานหลักฐานก่อนพิจารณาคดีในชั้นศาล และพบว่ามีแต่คำรับสารภาพ ศาลก็อาจใช้ดุลยพินิจได้ว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่" ทนายสิทธิพงษ์ กล่าว
เขาให้ข้อมูลด้วยว่า คดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ถึง 80% มีพยานหลักฐานเพียงแค่คำซัดทอดจากการปิดล้อมตรวจค้น และคำให้การหรือคำสารภาพในชั้นซักถามเท่านั้น
ขณะที่ นิพล ผดุงทอง รองอธิบดีอัยการเขต 9 (รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง) กล่าวว่า คดีความมั่นคงที่ส่งมาจากพนักงานสอบสวน 90% มีแค่คำซัดทอด และคำรับสารภาพในชั้นซักถามหรือชั้นสอบสวน เมื่ออัยการฟ้องคดีไปแล้ว ส่วนใหญ่ศาลจะยกฟ้อง แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี ผู้ต้องหามักไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้เดือดร้อนมาก
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ต.ค.2552 เป็นต้นมา ทางอัยการเขต 9 ได้วางหลักการพิจารณาฟ้องคดีความมั่นคงใหม่ โดยคดีที่มีแต่คำรับสารภาพหรือคำซัดทอดของพยานหรือมีแค่พยานบอกเล่า อัยการจะทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง
"ผ่านมาแล้ว 7-8 เดือน ปรากฏว่าคดีลักษณะนี้ 80-90% เราจะสั่งไม่ฟ้อง ถือเป็นนโยบายใหม่ของอัยการเขต คือเน้นให้ใช้กฎหมายจริงจัง โดยเฉพาะคดีความมั่นคงจะใช้ความรู้สึกไม่ได้ พยานบอกเล่าฟังไม่ได้ ป.วิอาญา มาตรา 226/3 ก็บัญญัติเอาไว้ชัดเจนห้ามศาลรับฟังพยานบอกเล่า ยกเว้นมีพยานหลักฐานอื่นรองรับ ฉะนั้นต้องเคร่งครัด เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ส่งผลกระทบทางจิตใจของผู้ต้องหาและครอบครัว"
อัยการนิพล กล่าวด้วยว่า คดีจำนวนมากมีเพียงคำรับสารภาพในชั้นซักถาม ซึ่งในขณะนั้นผู้ที่ถูกฟ้องยังไม่ได้มีสถานะเป็นผู้ต้องหา แต่เป็นผู้ให้ถ้อยคำ ดังนั้นตามมาตรฐานใหม่ถ้าคดีไหนมีหลักฐานเพียงแค่นี้ อัยการจะสั่งไม่ฟ้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่าง พล.ต.ต.นราศักดิ์ เชียงสุข ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผบก.สส.ศชต.) ยอมรับตรงๆ ว่า การทำงานของพนักงานสอบสวนมีปัญหา เพราะตำรวจส่วนหนึ่งไม่อยากอยู่ในพื้นที่ นายตำรวจระดับหัวหน้าสถานีหาคนสอบสวนเป็นแทบไม่มี ตรงนี้คือต้นเหตุที่ทำให้สำนวนคดีมีปัญหา
"ตำรวจเรายังเชื่อเรื่องคำรับสารภาพ เพราะไม่ได้อ่านกฎหมายใหม่ ทั้งๆ ที่กฎหมายใหม่ไม่ให้เชื่อคำรับสารภาพหรือคำซัดทอดอย่างเดียวแล้ว" พล.ต.ต.นราศักดิ์ กล่าว
ทั้งหมดนี้คือภาพสะท้อนจาก “คนใน” ที่ชำแหละให้เห็น “ตลกร้าย” ของการอำนวยความยุติธรรมที่ปลายด้ามขวาน!

เปิดสถิติเศร้ายกฟ้อง 60%
ลองมาดูตัวเลขสถิติคดีอาญาที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่เก็บรวบรวมโดย ศชต. จะพบข้อมูลที่น่าสนใจและน่าสลดใจ
โดยการสอบสวนคดีความมั่นคง พบว่าในภาพรวม 6 ปี (ม.ค.2547 ถึง 31 ธ.ค.2552) มีคดีอาญาเกิดขึ้นทั้งหมด 63,667 คดี แยกเป็นคดีความมั่นคง 7,004 คดี หรือคิดเป็น 11% ของคดีทั้งหมด (คดีอาญาทั่วไป 56,663 คดี หรือคิดเป็น 89%) รู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว 1,652 คดี ยังไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดถึง 5,352 คดี
จากภาพรวมคดีความมั่นคง พนักงานสอบสวนมีความเห็นแล้ว 6,300 คดี แยกเป็น งดสอบสวน (เพราะไม่ทราบตัวผู้กระทำความผิด) มากถึง 4,760 คดี สั่งฟ้องเพียง 1,388 คดี สั่งไม่ฟ้อง 132 คดี ในชั้นอัยการ มีความเห็นทางคดีแล้ว 5,110 คดี แยกเป็นงดสอบสวน (เพราะไม่ทราบตัวผู้กระทำความผิด) มากถึง 4,343 คดี สั่งฟ้องเพียง 562 คดี สั่งไม่ฟ้อง 205 คดี
คดีที่นำขึ้นสู่ศาลแล้ว และศาลมีคำพิพากษารวมทั้งสิ้น 216 คดี จำเลย 415 คน ศาลตัดสินลงโทษ 130 คดี จำเลย 211 คน ประหารชีวิต 20 คดี จำเลย 20 คน จำคุกตลอดชีวิต 36 คดี จำเลย 51 คน จำคุก 50 ปี 74 คดี จำเลย 140 คน ยกฟ้อง 86 คดี 204 คน
แม้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดย ศชต. จะพบปัญหาการจัดการคดีความมั่นคงในพื้นที่มากพอสมควร เพราะตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีคดีที่นำขึ้นสู่ศาลแล้วและศาลมีคำพิพากษารวมทั้งสิ้น 216 คดี แต่ศาลตัดสินลงโทษเพียง 130 คดี ยกฟ้องถึง 86 คดี หรือคิดเป็น 40% เป็น 216 คดีจาก 7,004 คดีที่เกิดขึ้นทั้งหมด (เฉพาะคดีความมั่นคง) โดยมีสถิติคดีที่ศาลยกฟ้องสูงถึง 40% ทั้งๆ ที่ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีเปอร์เซ็นต์การยกฟ้องเพียงร้อยละ 0.02 เท่านั้น (ข้อมูลจาก ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวไว้ในเวทีความคิดเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทยครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิ.ย.2551)
แต่นั่นยังไม่น่าตกใจเท่ากับข้อมูลจากสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 9 ที่รายงานสถิติคดีความมั่นคงในความรับผิดชอบของศาลในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยศาลจังหวัดนราธิวาส ศาลจังหวัดนาทวี ศาลจังหวัดเบตง ศาลจังหวัดปัตตานี ศาลจังหวัดยะลา ศาลจังหวัดสงขลา และศาลจังหวัดสตูล พบว่า ในปี 2552 ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไป (1 ม.ค.-31 ธ.ค.2552) มีคดีที่ศาลรับมาทั้งสิ้น 190 คดี จำหน่าย 3 คดี พิพากษาแล้ว 23 คดี ตัดสินลงโทษเพียง 5 คดี แต่ยกฟ้องมากถึง 18 คดี และมีคดีคงค้าง 164 คดี
นอกจากนั้นยังมีสถิติคดีในรอบปี 2550-2551 ด้วย พบว่าศาลมีคำพิพากษาคดีความมั่นคงทั้งสิ้น 60 คดี ลงโทษจำคุกเพียง 20 คดี แต่ยกฟ้องมากถึง 40 คดี หรือคิดเป็น 66% ซึ่งนับว่าน่ากังวลอย่างยิ่ง
ปัญหาทั้งในแง่ของคดีคงค้างจำนวนมาก และอัตราการยกฟ้องที่สูงมากนั้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และกับตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีความมั่นคงที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวซึ่งมีมากถึง 514 คนในปัจจุบัน
กลายเป็นปัญหา “งูกินหาง” และเข้าทางการปลุกระดมขยายมวลชนของกลุ่มก่อความไม่สงบอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง!

อ่านต่อ...

About This Blog

รายการบล็อกของฉัน

รายการบล็อก

Our Blogger Templates Web Design

  © Blogger templates The Professional Template by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP